Page 68 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 68

4.  เกิดอะไรขึ้นบ้าง

                                 5.  มีใครเกี่ยวข้องบ้าง
                                 6.   ผู้เรียนได้ท าอะไรบ้าง

                                   7.   ผู้เรึยนมีบทบาทอย่างไรบ้าง


                      การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่

               ต้องการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเน้นทักษะทางปัญญา การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เรียน
               ผ่านการสะท้อนคิดโดยตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ท าให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์

               แก้ปัญหาและสามารถประยุกต์ทฤษฎีที่ได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติ การสะท้อนคิดเกิดกับตัวผู้เรียนได้ทั้งจากการ

               เรียนในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยผู้เรียนน าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาคิด วิเคราะห์ใคร่ครวญตามความคิด
               ความเข้าใจของตนเอง ก่อนที่จะบอกต่อผู้อื่นโดยผ่านการพูดและการเขียน วิธีการสะท้อนคิด จึงเป็นการ

               พัฒนาผู้เรียนทางด้านทักษะทางปัญญา ผู้สอนมีบทบาทส าคัญในการช่วยกระตุ้น ส่งเสริมความก้าวหน้าและ
               ความส าเร็จของผู้เรียน ด้วยการเสริมแรง ช่วยเหลือ ประสานงานด้านต่างๆ ให้ค าปรึกษาแนะน าโดยเน้น

               ผู้เรียนเป็นส าคัญ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิด ใช้ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีความสุขใน

               การเรียน


               เครื่องมือในการวัดและประเมินผลการสะท้อนคิด

                       เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการสะท้อนคิดมีหลายชนิด ซึ่งในที่นี้ขอเสนอลักษณะของ
               เครื่องมือที่นิยมใช้ 4 ประเภท ดังนี้

                              1. แบบส ารวจรายการ (Checklist) เป็นเครื่องมือวัดที่มีลักษณะ เป็นข้อรายการที่
               รวบรวมไว้เพื่อตรวจสอบรายการ พฤติกรรม หรือกิจกรรมเป้าหมายว่ามีการด าเนินการ หรือปฏิบัติเป็นไปตาม

               ข้อรายการนั้นหรือไม่ การพิจารณาข้อความอาจอยู่ในรูปแบบ มีพฤติกรรม/ไม่มีพฤติกรรม ปฏิบัติ/ไม่ปฏิบัติ

               หรือใช่/ไม่ใช่
                              2. แบบประเมินมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เป็นเครื่องมือวัดมีลักษณะเป็น

               กลุ่มของข้อความที่ออกแบบให้ดึงเอาข้อมูลด้านคุณลักษณะที่ต้องการออกมา มาตรประมาณค่าเป็นเครื่องมือ
               ที่นิยมเนื่องจากเชื่อว่า ข้อความ หรือกลุ่มข้อความที่ใช้จะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก เจตคติ หรือคุณลักษณะ

               อื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ออกมาทางข้อความที่ใช้ องค์ประกอบที่ส าคัญของมาตรประมาณค่าจะ

               ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อความสัมพันธ์กับคุณลักษณะที่ต้องการวัด และส่วนที่ 2 ระดับความมาก
               น้อยของพฤติกรรม / ความเห็นพ้องกับข้อความ ซึ่งอาจแบ่งระดับแตกต่างกันได้ส าหรับการประเมินแต่ละ

               คุณลักษณะ รูปแบบของระดับคะแนนมักเรียงจากน้อยไปมาก เช่น เรียงระดับความถี่ของพฤติกรรม (ไม่เคย

               >>บ่อย) หรือระดับความเห็นพ้องของข้อความ (ไม่เห็นด้วย >>เห็นด้วยอย่างยิ่ง) เป็นต้น
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73