Page 70 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 70
การประเมินพฤติกรรมสะท้อนคิด
พฤติกรรม คือ กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือเป็นปฏิกิริยาที่เกิด
ขึ้นกับมนุษย์เมื่อได้เผชิญกับสิ่งเร้าพฤติกรรมสะท้อนคิดเป็นอาการที่แสดงออกทางการคิดวิเคราะห์ ทบทวน
การกระท าหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดจะนิยมวัดโดยใช้การระบุ
ความถี่ในการเกิดกระบวนการคิด เป็นการทบทวนตนเอง ว่าเกิดการกระท าตามหัวข้อประเมินมากน้อย
อย่างไร โดยแบบประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดแสดงไว้ดังตัวอย่างในภาคผนวก เอกสารที่ 2
การประเมินทัศนคติต่อการสะท้อนคิด
ทัศนคติเป็นความรู้สึกและความคิดเห็นที่บุคคลมีต่อสิ่งของ บุคคล สถานการณ์ หรือข้อเสนอแนะอื่น
ใดในทางที่จะยอมรับหรือปฏิเสธ ซึ่งส่งผลท าให้บุคคลพร้อมที่จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองด้วยพฤติกรรมอย่าง
เดียวกันตลอด (Norman L. Munn, 1971: 71) การวัดหรือประเมินทัศนคติจึงเป็นสิ่งส าคัญในการท านาย
พฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ การประเมินทัศนคติต่อการสะท้อนคิด จึงเป็นการวัดที่มีเป้าหมายเพื่อวัดความรู้สึก
นึกคิดของบุคคลซึ่งในที่นี้คือผู้เรียนว่ารู้สึกอย่างไรต่อการสะท้อนคิด อันจะส่งผลต่อการยอมรับหรือปฏิเสธและ
การแสดงพฤติกรรมการสะท้อนคิดออกมา โดยแบบประเมินทัศนคติต่อการสะท้อนคิดแสดงไว้ดังตัวอย่างใน
ภาคผนวก เอกสารที่ 3
การประเมินการเขียนบันทึกสะท้อนคิด
การเขียนบันทึกสะท้อนคิด (Reflective journal) เป็นลักษณะของการเขียนความเรียงเพื่อบรรยาย
เหตุการณ์ ทบทวนความรู้สึก ประเมินสถานการณ์ ทบทวนวรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนใน
การพัฒนาตนเอง หรือพัฒนางานที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์นั้น โดยการเขียนสะท้อนคิดที่ดีจะต้อง
ประกอบด้วย ความเป็นเอกภาพ มีสารัตถภาพ และสัมพันธภาพ โดย เอกภาพ คือ ความเป็นหนึ่ง นั่นคือใน
ย่อหน้าหนึ่งๆ ต้องกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ประเด็นหนึ่ง เท่านั้น ไม่นอกเรื่อง นอกประเด็นหรือมีประเด็น
ส าคัญหลายประเด็น ท าให้ไม่รู้ว่าย่อหน้านี้กล่าวถึงเรื่องอะไรกันแน่ สารัตถภาพ คือ ความมีสาระ นั่นคือ
ต้องมีความคิดส าคัญเพียงหนึ่งเดียว คือสามารถสรุปความคิดได้เพียงประการเดียว ประโยคทุกๆ ประโยคจะ
มุ่งกล่าวอธิบายความคิดส าคัญนั้น และ สัมพันธภาพ คือ ค า ประโยค ข้อความในย่อหน้าต้องมีความ
เกี่ยวเนื่องกัน สังเกตได้จากการใช้ค าเชื่อมต่างๆ ที่เชื่อมโยงข้อความจนสามารถท าให้เราอ่านแล้วเข้าใจ
มองเห็นทิศทางของสาระในเรื่องได้ชัดเจน ซึ่งในการประเมินการเขียนสะท้อนคิดนั้นผู้สอนมีเป้าหมายส าคัญใน
การประเมินกระบวนการคิดที่เกิดขึ้น และสะท้อนผ่านการเขียน ไม่ได้เป็นการประเมินด้านภาษาเป็นหลัก จึง
ต้องระวังไม่ให้ติดกับดักด้านความสวยงามของภาษา เนื่องจากบางครั้งการเขียนสะท้อนคิดที่ใช้ถ้อยค าสวยงาม
อาจไม่ได้สะท้อนถึงกระบวนการคิดขั้นสูงก็เป็นได้ ตรงกันข้าม การเขียนการสะท้อนคิดบางเรื่องใช้ภาษาง่าย
แต่สามารถเชื่อมโยงถึงการลื่นไหลของความคิดในระดับสูง โดยการประเมินการเขียนสะท้อนคิด ส่วนใหญ่นิยม
ใช้แบบประเมินในรูปแบบ Rating scale ที่ยึดโยงกับ Gibbs Reflective Cycle โดยแบบประเมินการเขียน
สะท้อนคิดแสดงไว้ดังตัวอย่างในภาคผนวก เอกสารที่ 4