Page 74 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 74

71





                     กลุ่มที่ 1 พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจสอบภายในภาคสนาม หรือตรวจสอบทันทีพร้อมกับการเก็บตัวอย่าง ได้แก่
              อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) การน าไฟฟ้า (Conductivity) ความเค็ม (Salinity) ออกซิเจน
              ละลาย (DO) และความขุ่น (Turbidity)
                     กลุ่มที่ 2 พารามิเตอร์ที่ไม่สามารถตรวจวัดในภาคสนามได้ จะต้องเก็บรักษาตัวอย่างไว้ก่อน และน ามาตรวจสอบ

              หรือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พารามิเตอร์ที่ควรตรวจวัด เช่น ปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) ของแข็ง
              แขวนลอย (SS) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไนเตรท-ไนโตรเจน
              (NO3–N) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3–N) และโลหะหนักต่าง ๆ เป็นต้น

              5. การส ารวจพื้นที่และก าหนดจุดเก็บตัวอย่าง
                     - การส ารวจพื้นที่ เป็นการท าความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะท าการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ า เป็นสิ่งที่จ าเป็น
              อย่างยิ่ง ที่จะน าไปสู่การวางแผนและก าหนดจุดเก็บตัวอย่าง เป็นตัวแทนคุณภาพน้ าตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ส ารวจต้องการ
              ทราบโดยปกติแล้วข้อมูลที่ควรทราบในการส ารวจพื้นที่ต้องติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ า ได้แก่
                     1) ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปของแหล่งน้ า ได้แก่ ข้อมูลต้นก าเนิดของแหล่งน้ า สภาพทั่วไปที่ผู้เก็บตัวอย่างพบ

              เห็นเบื้องต้น หากเป็นแหล่งน้ าผิวดิน เช่น แม่น้ าอาจบันทึกบริเวณที่แม่น้ าไหลผ่านมีคลองสาขาที่ใดบ้างความกว้างความ
              ยาวของแม่น้ า เป็นต้น
                     2) ลักษณะทางชลศาสตร์ของน้ า ได้แก่ สภาพการขึ้นลงของแหล่งน้ า ปริมาณ ทิศทาง และอัตราการไหลของ

              แหล่งน้ าในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสภาพทางชลศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงมักมีผลต่อคุณภาพน้ า และการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ า
              ที่เปลี่ยนไป
                     3) สภาพแหล่งก าเนิดมลพิษและการใช้ประโยชน์ของที่ดินในพื้นที่แหล่งน้ า ได้แก่ ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
              กับแหล่งก าเนิดมลพิษและกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่แหล่งน้ า โดยเฉพาะแหล่งอุตสาหกรรม ชุมชน และเกษตรกรรม

                     4) แผนที่แหล่งน้ า ได้แก่ ภาพแสดงพื้นที่แหล่งน้ าที่ต้องการส ารวจโดยรวม แสดงให้เห็นสายน้ าและการเชื่อมต่อ
              ที่ตั้งของแหล่งน้ า พื้นที่การใช้ประโยชน์ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ า เป็นต้น
                     - การก าหนดจุดเก็บตัวอย่าง โดยทั่วไป จุดเก็บตัวอย่างน้ า จะประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ ซึ่งใช้เป็นหลักในการ
              ก าหนดจุดเก็บน้ า ได้แก่

                     1) จุดอ้างอิง (Reference Site) ได้แก่ จุดต้นน้ า หรือจุดที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากแหล่งมลพิษใด ๆ ซึ่งใช้
              อ้างอิงสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของแหล่งน้ านั้น ๆ
                     2) จุดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ า (Sampling Site) เป็นจุดตรวจสอบคุณภาพน้ าที่อยู่ในช่วงที่มีการ
              ใช้ประโยชน์หรือได้รับผลกระทบจากแหล่งมลพิษต่าง ๆ ของแหล่งน้ า โดยจุดตรวจสอบจะก าหนดขึ้น เพื่อใช้ตรวจ

              แนวโน้มของสภาพปัญหาในแหล่งน้ า ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เพื่อประโยชน์ในการวางแผนจัดการคุณภาพน้ า
              ตามทางของปัญหา
                     3) จุดตรวจสอบท้ายน้ า (Global river flux Site) ได้แก่ จุดตรวจสอบบริเวณปากแม่น้ าหรือปลายสุดของแหล่ง

              น้ าก่อนจะถูกระบายลงสู่แหล่งรองรับน้ าอื่น ๆ ทะเล หรือมหาสมุทร เป็นต้น เป็นจุดที่ใช้ตรวจสอบสถานภาพของแหล่ง
              น้ าล าดับสุดท้ายเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากผ่านแหล่งรองรับมลสารต่าง ๆ ตลอดทั้งล าน้ าแล้ว
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79