Page 79 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 79
76
พารามิเตอร์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ า
BOD ค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ า
แหล่งน้ าที่มี BOD มาก ย่อมแสดงว่า มีความสกปรกมากเนื่องจากจุลินทรีย์ต้องใช้ DO
จ านวนมากในการย่อยสลายสารอินทรีย์หรือปฏิกูลส่งผลให้ DO ในแหล่งน้ าลดลงและ
อาจเกิดความเน่าเสียได้
ของแข็งแขวนลอย (SS) สารแขวนลอยในแหล่งน้ า อาจเกิดจากการระบายน้ าทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงาน
อุตสาหกรรมหรือกิจกรรมด้านการเกษตร หรืออาจมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการชะล้างหน้า
ดินในช่วงฤดูฝน แหล่งน้ าที่ให้ผลผลิตทางการประมงที่ดี ควรมีค่าสารแขวนลอยอยู่
ในช่วง 25 ถึง 80 มิลลิกรัมต่อลิตร แหล่งน้ าเหมาะจะน ามาใช้ส าหรับการผลิตประปา
โดยตรง ควรมีค่าสารแขวนลอยไม่เกินกว่า 25 มิลลิกรัมต่อลิตร
ออกซิเจนละลาย (DO) แหล่งน้ าที่เหมาะแก่การด ารงชีวิต การขยายพันธุ์ และการอนุรักษ์สัตว์น้ า ควรมีค่าดีโอ
ไม่ต่ ากว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยทั่วไป สัตว์น้ าส่วนใหญ่จะด ารงอยู่ได้อย่างปกติที่ระดับ
DO ไม่ต่ ากว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าดีโอมีค่าต่ ากว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตรจะไม่เหมาะสม
ต่อการด ารงชีวิตของสัตว์น้ า นอกจากนี้ในเวลากลางวันแหล่งน้ าบางแห่งอาจตรวจวัด
DO ได้สูงเกินกว่า 10 มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงให้เห็นว่า มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของ
สาหร่ายในแหล่งน้ า (Algae Bloom) ซึ่ง DO ที่มีมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์
น้ าเกิดโรค Air bubble disease
ฟอสฟอรัสทั้งหมด ฟอสฟอรัสเป็นอาหารส าคัญและจ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ า แหล่งน้ าที่มี
(Total Phosphorus, TP) ปริมาณฟอสฟอรัสมากเกินปกติ อาจท าให้เกิดการเจริญเติบโตของพืชน้ าได้อย่าง
รวดเร็ว โดยทั่วไปปริมาณฟอสฟอรัส ที่จะก่อปัญหาต่อแหล่งน้ า จะมีความสัมพันธ์กับ
ปริมาณไนโตรเจนเสมออัตราส่วนระหว่างปริมาณไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสที่ท าให้พืชน้ า
มีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงประมาณ 10 ต่อ 1 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เกินปกติใน
แหล่งน้ าส่วนใหญ่จะปนเปื้อนมาจากการปล่อยน้ าทิ้งจากชุมชนการชะล้างหน้าดินที่มี
การสะสมของปุ๋ยหรือการระบายน้ าทิ้งจากพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO2- ปริมาณไนโตรเจนในรูปของไนเตรท ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของเสียหรือน้ าทิ้งที่มี
N) ส่วนประกอบโปรตีนจากแบคทีเรียในแหล่งน้ า หรือการชะล้างปุ๋ยหน้าดินในพื้นที่
เกษตรกรรม แหล่งน้ าที่ตรวจพบปริมาณไนเตรทไนโตรเจนสูง ย่อมแสดงว่า มีการ
ปนเปื้อนจากของเสียหรือสิ่งสกปรกจากชุมชน หรือมีการชะล้างหน้าดินในพื้นที่
เกษตรกรรมในปริมาณสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการน าน้ ามาใช้ในการบริโภค หรือการ
ผลิตประปาท าให้เกิดโรคระบบโลหิตเรียกว่า methemoglobinemia นอกจากนี้ ในเต
รท-ไนโตรเจน ที่มีมากเกินปกติ อาจก่อให้เกิดปัญหาการเจริญเติบโตและการเพิ่ม
ประชากรของพืชอย่างรวดเร็วผิดปกติ (Eutrophication) เนื่องจากไนเตรทเป็นปุ๋ยหรือ
สารอาหารส าคัญของพืชน้ า ซึ่งพืชน้ าเหล่านี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการใช้ออกซิเจน
ของสัตว์น้ า การใช้น้ าเพื่อผลิตประปา การคมนาคม เป็นต้น