Page 105 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 105
ส่วนที่ ๓ หน้า ๙๓
ส าหรับกรณีที่คณะกรรมาธิการสอบถามถึงการจะขอคืนเงินภาษีหรือการใช้สิทธิลดหย่อน
ภาษีบุคคลธรรมดาให้แก่การใช้จ่ายสินค้าจ าพวกผ้าอนามัยนั้น ผู้แทนกรมสรรพากรได้ชี้แจงให้ข้อมูล
ต่อที่ประชุมว่า การขอลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะกระท าได้ต่อเมื่อมีการยื่นแบบแสดงการเสียภาษี
ั
โดยกลุ่มผู้เปราะบาง อาทิ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มชาติพนธุ์ หรือแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ยื่นแบบ
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจ าปี ดังนั้น การขอคืนเงินภาษีและการขอลดหย่อนภาษีให้กับกลุ่ม
์
เปราะบาง จึงเป็นสิ่งที่อาจท าไม่ได้ ทั้งนี้ ในส่วนของบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ถึงเกณฑต้องเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา หากจะให้สิทธิแก่บุคคลกลุ่มนี้ในการน าเงินที่จ่ายเป็นค่าผ้าอนามัยมาเป็นสิทธิลดหย่อน
หรือการขอเงินภาษีคืน เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาว่าจะเป็นการกระทบต่อการจัดเก็บภาษีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่
ผู้หญิง และวินัยทางการเงินการคลังของประเทศด้วยหรือไม่ อีกทั้งอาจจะยากต่อการตรวจสอบว่าเป็นการ
ใช้จ่ายของผู้หญิงอย่างแท้จริงหรือไม่
ส าหรับสินค้าผ้าอนามัยที่น าเข้ามาจากต่างประเทศ การจัดเก็บภาษีส่วนนี้จะเป็นหน้าที่
ิ่
ของกรมศุลกากรเป็นผู้ด าเนินการ ซึ่งการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพมส าหรับผ้าอนามัยที่น าเข้าจากต่างประเทศ
เป็นการจัดเก็บจากสินค้าปกติทั่วไปอยู่แล้ว จึงไม่อาจยกเว้นส่วนนี้ได้เช่นกัน โดยนโยบายการจัดเก็บภาษี
จากสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาวะของผู้หญิง (Pink Tax) กรมสรรพากรยังไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ แต่ที่ผ่านมา
ได้มีหน่วยงานต่าง ๆ เคยเสนอต่อกรมสรรพากรมาแล้ว โดยในความเห็นของผู้มาแถลงข้อเท็จจริงเห็นว่า
แนวทางที่จะช่วยเหลือแก่ผู้หญิงและกลุ่มเปราะบางในเรื่องนี้อาจด าเนินการด้วยการควบคุมราคาสินค้า
จ าพวกผ้าอนามัยไม่ให้ราคาสูงเกินสมควรน่าจะเป็นแนวทางที่ดีและสามารถด าเนินการได้มากกว่าการยกเว้น
การจัดเก็บภาษี
ิ
จากการพจารณาศึกษา คณะกรรมาธิการพบว่า ผ้าอนามัยเป็นเครื่องอุปโภคที่ส าคัญที่สตรี
ั
วัยเจริญพนธุ์ที่มีประจ าเดือนไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ ท าให้สตรีเหล่านี้ต้องมีภาระค่าใช้จ่าย
ในเรื่องการดูแลสุขภาวะทางเพศสูงมาก และภาระค่าใช้จ่ายนี้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อกลุ่มสตรีหรือครอบครัว
ที่มีรายได้น้อยและมีบุตรสาวซึ่งอยู่ในช่วงวัยเจริญพนธุ์ เนื่องจากผ้าอนามัยนับเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับ
ั
ั
ค่าแรงขั้นต่ า รวมทั้งยังส่งผลให้สตรีที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ไม่มีรายได้ รวมถึงกลุ่มชาติพนธุ์ ไม่สามารถ
เข้าถึงการใช้ผ้าอนามัยอย่างเหมาะสมและเพยงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ
ี
การมีสุขภาพที่ดีของสตรีเหล่านี้
ดังนั้น หากมีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีในสินค้าจ าพวกผ้าอนามัย จะช่วยลดราคาสินค้าจ าพวก
ผ้าอนามัยลง และส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายของผู้หญิงทุกคนลดลง รวมถึงเป็นการลดความเหลื่อมล้ าทางเศรษฐกิจ
ระหว่างเพศหญิงและเพศชายอีกด้วย นอกจากนี้ หากภาครัฐสามารถจัดสรรสวัสดิการผ้าอนามัย จะท าให้สตรี
ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ไม่มีรายได้ นักเรียน รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ จะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่มสตรี
เหล่านี้ได้อย่างมาก และเป็นการส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศ และช่วยป้องกันโรคเฉพาะด้านของสตรีได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคณะกรรมาธิการพิจารณาเห็นว่า การยกเลิกภาษีผ้าอนามัยและการดูแล
ช่วยเหลือด้านสวัสดิการผ้าอนามัยในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ควรต้องด าเนินการเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ า
ทางเพศและส่งเสริมสุขภาพสตรี แต่ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหม่ มีความซับซ้อน มีผลกระทบด้านกฎ ระเบียบ
วิธีการด าเนินงาน และงบประมาณต่อหน่วยงานหลายฝ่าย อีกทั้งรายละเอียดทางด้านโครงสร้างทางภาษี
ที่ยังไม่สามารถรองรับในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ าทางเพศได้โดยตรง