Page 110 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 110
หน้า ๙๘ ส่วนที่ ๓
๒. แก้ไขปรับปรุงมาตรา ๓๐๕ เป็นว่า ถ้าการกระท าในมาตรา ๓๐๒ เป็นการกระท าของ
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้อยู่ใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ในอายุครรภ์ต่ ากว่า
ยี่สิบสี่สัปดาห์ ผู้กระท าไม่มีความผิด และในอายุครรภ์มากกว่ายี่สิบสี่สัปดาห์ โดย
๑) จ าเป็นต้องกระท าเนื่องจากสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของหญิงนั้น หรือ
๒) ทารกในครรภ์มีความพิการ หรือเป็นโรคพันธุกรรมอย่างร้ายแรง หรือ
๓) หญิงมีครรภ์เนื่องจากความล้มเหลวในการคุมก าเนิดด้วยวิธีท าหมันหญิง ท าหมันชาย
ฝังยาคุมก าเนิด ใส่ห่วงคุมก าเนิด หรือวิธีอื่นใดที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน หรือ
๔) หญิงมีครรภ์และครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจหรือสังคมจนไม่สามารถเลี้ยงดูเด็ก
ที่ก าลังจะเกิดมาได้
๕) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระท าความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗
มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ มาตรา ๒๘๓ ทวิ หรือมาตรา ๒๘๔
ผู้กระท าไม่มีความผิด
กรณีสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิงและสิทธิเด็กที่อยู่ในครรภ์หลังปฏิสนธิหรือตัวอ่อน
จากการศึกษาข้อมูลและหลักฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๔ พบว่า สิทธิของการตัดสินใจ
ยุติการตั้งครรภ์เป็นของผู้หญิง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา ๓ เดือนถัดมา สิทธิของการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์
ี่
เป็นของผู้หญิง แต่ต้องปรึกษาผู้ช านาญการทางการแพทย์ในการยุติการตั้งครรภ์ และหลังอายุครรภ์ยสิบสี่
สัปดาห์ สิทธิของการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์เป็นของตัวอ่อนในครรภ์ เนื่องจากมีสัญญาณชีพในครรภ์
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเสนอของเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลต่อที่ประชุมว่า การยุติการตั้งครรภ์ คือ การสิ้นสุด
แห่งครรภ์ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ การยุติการตั้งครรภ์โดยที่ไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้หรือเกิดเหตุการณ์
ี่
ที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ยสิบแปดสัปดาห์ เรียกว่าการแท้ง และการยุติการตั้งครรภ์แต่สามารถ
เลี้ยงดูเด็กได้หรือเกิดเหตุการณ์ที่ต้องยุติการตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ยี่สิบแปดสัปดาห์ เรียกว่า การคลอด
ก่อนก าหนด และหากมีการก าหนดอายุครรภ์ของการยุติการตั้งครรภ์ในกฎหมายก็อาจจะเป็นปัญหาได้
เพราะในปัจจุบัเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งการยุติการตั้งครรภ์หากมีการตั้งครรภ์ที่
มีอายุครรภ์น้อยก็จะปลอดภัยกว่าการยุติการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากขึ้นตามล าดับ แต่ปัจจัยส าคัญของ
การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย คือ การได้รับการยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องจากแพทย์ ซึ่งจะไม่มีภาวะ
แทรกซ้อนและท าให้เกิดการเสียชีวิตตามมา
กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีแพทย์เกี่ยวกับด้านการยุติการตั้งครรภ์ ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นการยุติ
ิ
การตั้งครรภ์จากประเด็นสุขภาพของผู้ตั้งครรภ์ เช่น กรณีเป็นโรคหัวใจ หรือเด็กในครรภ์มีความพการ
จะมีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการยุติการตั้งครรภ์ในด้านนี้ จ านวน ๖๐,๐๐๐ กว่าคน และอีกกลุ่มเป็น
ผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์จากปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาสุขภาพแต่เป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและเหตุผลอื่น
มีจ านวนแพทย์เพียง ๑๐๐ กว่าคน เท่านั้น ซึ่งเป็นผู้ที่เสียสละกระจายตัวอยู่ใน ๓๓ จังหวัด ครอบคลุมทั้งประเทศ
และกรณีของการแก้กฎหมาย มาตรา ๓๐๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หากไม่สามารถด าเนินการแล้วเสร็จ
ภายในสามร้อยหกสิบวันจะไม่มีผลบังคับใช้ก็จะเป็นปัญหาในการแก้ไขมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
เช่นกัน ดังนั้นจึงควรด าเนินการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องท าแท้ง
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน