Page 109 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 109
ส่วนที่ ๓ หน้า ๙๗
มาตรา ๓๐๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะไม่มีผลบังคับใช้ ดังนั้น ในส่วนของส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ิ
โดยคณะกรรมการพจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาจึงได้มีการแก้ไข มาตรา ๓๐๑ แห่งประมวล
กฎหมายอาญา โดยมีการขยายเพิ่มเติมว่า รัฐควรจะต้องพิจารณาถึงความสมดุลของสิทธิของทารกในครรภ์
และการก าหนดเงื่อนไขระยะเวลาที่เหมาะสมของหญิงที่ตั้งครรภ์ที่สามารถท าแท้งได้ ซึ่งนักวิชาการได้
ค านึงถึงความปลอดภัยของหญิงที่จะท าแท้ง จึงก าหนดระยะเวลาของหญิงที่จะท าแท้งได้ โดยจะต้องมีอายุ
ครรภ์ไม่เกิน สิบสองสัปดาห์ หากเกินก าหนดจะมีความผิด เนื่องจากเป็นอายุครรภ์ที่มีความเหมาะสม
และไม่เกิดอันตราย และก าหนดระวางโทษจากจ าคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท เป็นจ าคุกไม่เกิน
หกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
ในส่วนของการแก้ไขมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ยกเว้นให้ผู้กระท าสามารถท าการ
ยุติการตั้งครรภ์โดยไม่มีความผิดแต่ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระท าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และกระท าตาม
กฎเกณฑ์ของแพทยสภา ภายใต้เงื่อนไข มาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และได้ก าหนดเรื่องเหตุ
ที่หญิงมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ให้เป็นเหตุหนึ่งที่สามารถท าได้
จากนั้น ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นและมีข้อสังเกตในประเด็นการรับฟังความคิดเห็นกรณี
ระยะเวลาของอายุครรภ์สิบสองสัปดาห์ เป็นระยะเวลาที่ปลอดภัยในการยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์นั้น
มีข้อโต้แย้งจากภาคประชาชนหรือไม่ เช่น หญิงมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
โดยไม่มีความผิด ซึ่งเป็นระยะเวลาที่น้อยเกินไปอาจจะไม่มีผลต่อการแก้ปัญหา และสามารถยืดหยุ่นได้
มากกว่านี้หรือไม่
ผู้แทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้ให้ข้อมูลต่อที่ประชุมว่า
จากงานวิจัยของกรมอนามัยร่วมกับองค์การอนามัยโลก โดยการส ารวจโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศไทย
และได้ตัวอย่างของผู้ป่วยจากการแท้ง จ านวน ๔๐,๐๐๐ กว่าราย โดยน ากรณีตัวอย่าง จ านวน ๔,๕๐๐ ราย
เมื่อน ามาศึกษาอย่างละเอียดโดยใช้วิธีการทางสถิติ พบว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงที่มาจากการท าแท้ง
ที่ไม่ปลอดภัย จ านวน ๓๐๐ ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ ราย และอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการคลอดบุตร
จ านวน ๓๐ ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ ราย ซึ่งต่อมาไม่สามารถท างานวิจัยในระดับนี้ได้อีกแต่กรมอนามัยยังได้มีการ
น างบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งมีไม่มากมาใช้ในการเก็บข้อมูลและพบว่า ยังมีการท าแท้งในโรงพยาบาล
ของรัฐตลอดเวลา และจากสถิติของ สปสช. พบว่า มีการเสียชีวิตจากการท าแท้งในแต่ละปีลดลง แต่ยังมี
อัตราการท าแท้งที่ไม่ถูกกฎหมายจ านวนมาก ซึ่งมีการระบุการเสียชีวิตจากกรณีอื่น หากการแก้กฎหมาย
เกี่ยวกับการท าแท้งสามารถท าให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมเข้าสู่กระบวนการท าแท้งที่ปลอดภัยได้ จะลดอัตรา
ั
การเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการท าแท้งลง และจากสถิติของส านักอนามัยการเจริญพนธุ์ กรมอนามัย พบว่า
มีผู้มารับบริการการยุติการตั้งครรภ์ในระยะครรภ์สิบสองสัปดาห์ ประมาณร้อยละ ๗๕ ของผู้มารับบริการ
และส่วนที่เหลือมารับบริการยุติการตั้งครรภ์มากกว่าสิบสองสัปดาห์ และสถิติในช่วงโควิด-๑๙ พบว่า มีการ
ยุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น รัฐจึงต้องยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
ซึ่งในต่างประเทศได้มีการยกเลิกและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการท าแท้ง โดยการท าให้ผู้หญิงเข้าสู่การบริการ
การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มอายุ ท าให้เรื่องเพศศึกษาดีขึ้นและในอีกด้านหนึ่งคือ
มีการสนับสนุนการคุมก าเนิดที่ถูกต้องปลอดภัย ท าให้สถิติการเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ลดลง
ดังนั้น เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จึงได้ร่างข้อเสนอปรับปรุง
ประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานท าแท้งขึ้น โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
๑. ให้ยกเลิกมาตรา ๓๐๑ ที่ก าหนดให้ลงโทษผู้หญิงที่ท าแท้ง