Page 39 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 39

ส่วนที่ ๓                                                                            หน้า ๒๗



                      พิจารณาแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังการท ารายร่างกายเด็กเล็กในสถานศึกษา
                                                                      ้

                           คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลาย

                         ิ
               ทางเพศ พจารณาแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังการท าร้ายร่างกายเด็กเล็กในสถานศึกษา โดยเชิญผู้แทน
               จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เลขาธิการส านักงาน

               คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้บัญชาการ
               ต ารวจแห่งชาติ เข้าให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ซึ่งสรุปสาระส าคัญได้ ดังนี้
                                                        ี่
                           จากกรณีปัญหาเด็กเล็กถูกครูพเลี้ยงท าร้ายร่างกายและกระท าความรุนแรงในโรงเรียน
               สารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ คณะกรรมาธิการ สอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการดูแล
               และเยียวยาเด็กเล็กและผู้ปกครอง การป้องกันการท าร้ายร่างกายต่อเด็กเล็กในสถานศึกษา รวมถึง

               การด าเนินคดีต่อครูพี่เลี้ยงที่กระท าความผิดในกรณีดังกล่าว
                           อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการว่า ประเทศไทยได้ลงนาม
               เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ โดยในข้อ ๑๙ ได้ก าหนดถึงประเด็น

               เรื่องการขจัดความรุนแรงต่อเด็กไว้ ซึ่งมีการอนุวัติข้อ ๑๙ ในอนุสัญญาดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติ
               คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ในการด าเนินงานด้านเด็กจะมีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และคณะกรรมการ

               คุ้มครองเด็กระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร เป็นคณะกรรมการหลัก
                           จากกรณีปัญหาของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีในฐานะ
               ประธานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดนนทบุรีได้สั่งการและประสานหน่วยงานที่เป็นทีมสหวิชาชีพ

               ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
               กระทรวงสาธารณสุข ส านักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี สถานีต ารวจภูธรจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมด าเนินการ

               โดยมีการคัดกรองเด็กในโรงเรียนออกเป็นจ านวน ๔ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มเด็กที่ถูกท าร้ายและมีการแจ้งความ
               ด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิด ๒) เด็กในชั้นเรียนเดียวกับเด็กที่ถูกท าร้ายและไม่มีการแจ้งความด าเนินคดี
               ๓) เด็กในชั้นเรียนระดับเดียวกับเด็กที่มีเหตุการณ์การท าร้ายร่างกาย ๔) เด็กทั่วไปในโรงเรียนทั้งหมด

                                      ์
               โดยเด็กที่พบว่าเข้าเกณฑต้องได้รับการดูแลและเยียวยาจะส่งต่อไปยังหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข
               เพื่อท าการดูแลเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

                           ทั้งนี้ มาตรการปกป้องคุ้มครองเด็กในโรงเรียนนั้น คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติได้มีมติ
               เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ให้กระทรวงศึกษาธิการขยายภารกิจงานของศูนย์คุ้มครองและช่วยเหลือ
               นักเรียนนักศึกษาที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (ศคพ.) ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖

               ดังนี้
                           ๑. ก าชับให้โรงเรียนและสถานศึกษาจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนว ให้ค าปรึกษา

               และฝึกอบรมแก่นักเรียน รวมถึงจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรมนักเรียนและผู้ปกครองให้รู้จักวิเคราะห์
               สถานการณ์อันตราย รู้จักหลบหลีก และช่องทางการขอความช่วยเหลือ
                           ๒. ทบทวนกระบวนงานของระบบการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา โดยให้รายงาน

               แจ้งเหตุเมื่อปรากฏชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูมิชอบ รวมทั้ง
               ประสานงานและส่งตัวเด็กให้อยู่ในการดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือต ารวจกรณีที่เห็นว่าเด็กไม่ปลอดภัย
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44