Page 47 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 47

ส่วนที่ ๓                                                                            หน้า ๓๕



                           อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการมีข้อห่วงใยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมส าหรับเด็กและเยาวชน

               ดังนี้
                                                              ื่
                           ๑. ความละเอียดอ่อนในการใช้ค าถามเพอสอบสวนเด็กและเยาวชน ซึ่งอาจท าให้ผู้ถูกสอบสวน
               และครอบครัวเกิดความรู้สึกถูกตัดสินหรือถูกตีตรา
                           ๒. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการทบทวนมาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม
               ส าหรับเด็กและเยาวชนหรือไม่

                           ๓. การทบทวนมาตรฐานของนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยาของกระทรวงยุติธรรม
               และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถช่วยเหลือและคุ้มครองเด็ก

               และเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมได้ โดยเฉพาะด้านการดูแลบาดแผลทางจิตใจ (Trauma) ของเด็ก
               และเยาวชน
                           ส าหรับกรอบการพิจารณาศึกษามาตรการคุ้มครองดูแลเด็กและเยาวชนที่ถูกด าเนินคดีอาญา

               ของคณะกรรมาธิการ ดังนี้
                           ๑. การบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ

                           ๒. หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ
                           ๓. พันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองเด็กและเยาวชน

                           ๑. การบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ มีการบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของเด็กและเยาวชน

               และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคุ้มครองดูแลเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ในกฎหมาย
                                                                            ิ
               หลายฉบับ อันได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพจารณาความอาญา พระราชบัญญัติ
                                               ิ
               ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ และระเบียบส านักงาน
               อัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓ เช่น
                             ประมวลกฎหมายอาญา

                             มาตรา ๗๔ ก าหนดให้ เด็กที่อายุเกินกว่า ๑๐ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๕ ปี กระท าการอันกฎหมาย
               บัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอ านาจที่จะด าเนินการ ดังต่อไปนี้
                             (๑) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา

               ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
                             (๒) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีค าสั่ง

               ให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อก าหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
               ระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลก าหนดซึ่งต้องไม่เกิน ๓ ปีและก าหนดจ านวนเงินตามที่
               เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องช าระต่อศาลไม่เกินครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท ในเมื่อเด็กนั้น

               ก่อเหตุร้ายขึ้น
                               ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่า

               ไม่สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาวางข้อก าหนดดังกล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคล
               ที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาสอบถามว่า จะยอมรับข้อก าหนดท านองที่บัญญัติไว้ส าหรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
               ดังกล่าวมาข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ยอมรับข้อก าหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีค าสั่งมอบ

               ตัวเด็กให้แก่บุคคลนั้นไปโดยวางข้อก าหนดดังกล่าว
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52