Page 97 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 97
ส่วนที่ ๓ หน้า ๘๕
ท าให้ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสตรีตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างแท้จริง ส่งผลให้สตรี
ยังคงถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านการจ้างแรงงานที่มักถูกเลิกจ้าง
โดยไม่เป็นธรรม ด้านสิทธิการถือครองที่ดิน ด้านการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข เป็นต้น
ิ
ิ่
คณะกรรมาธิการพจารณาแล้ว รัฐสภามีกระบวนการในการแก้ไขเพมเติมรัฐธรรมนูญ
ิ
ซึ่งมีหลายประเด็นที่อยู่ระหว่างการศึกษาและจะเสนอเข้าสู่การพจารณาของรัฐสภา ซึ่งจะได้น าข้อเสนอ
ดังกล่าวนี้ประกอบการขอแก้ไขเพิ่มเติมไปด้วย และมีข้อเสนอแนะต่อการพิจารณา ดังนี้
๑. ในเรื่องการส่งเสริมให้งานบ้านเป็นงานที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้น มีความสอดคล้องกับ
ประเด็นเกี่ยวกับการท านโยบายและงบประมาณที่สอดคล้องและตอบสนองต่อเพศสภาพ (Gender Responsive
Budgeting : GRB) ซึ่งมีแนวคิดว่างานในบ้านเป็นงานที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ิ
ยังคงไม่มีการปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยก าลังอยู่ระหว่างการพจารณาศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ
ในคณะกรรมาธิการ นอกจากนี้ กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ด าเนินการ
ั
ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวเช่นกัน โดยมีการรณรงค์ให้ผู้ชายเข้ามามีส่วนร่วมในการท างานบ้านด้วย
๒. ประเด็นต่าง ๆ ตามข้อเสนอของเครือข่ายมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอยู่แล้ว
ในหลายมาตรา ได้แก่ มาตรา ๔ มาตรา ๒๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๖๘ มาตรา ๗๑ แต่อาจจะเป็นการบัญญัติ
ในภาพรวมที่มีเนื้อหากว้างเกินไป ท าให้สิทธิเสรีภาพของสตรียังคงไม่ได้รับความคุ้มครองตรงตามความต้องการ
ได้อย่างแท้จริง ซึ่งคณะกรรมาธิการจะได้มีการพจารณาศึกษาข้อเรียกร้องในแต่ละข้ออย่างละเอียดรอบคอบ
ิ
ิ
ซึ่งหากประเด็นใดที่สามารถด าเนินการได้จะจัดท าเป็นประเด็นน าเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพจารณา
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาต่อไป