Page 94 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 94
หน้า ๘๒ ส่วนที่ ๓
ั
อย่างไรก็ตาม แม้จากการรับฟงความคิดเห็น ได้มีความเห็นที่จะให้การค้าประเวณีสามารถ
กระท าได้ภายใต้การควบคุมและมีเงื่อนไขที่ชัดเจน โดยขอให้ภาครัฐมีมาตรการคู่ขนานไปด้วยก็ตาม แต่ยังมี
ข้อห่วงกังวลจากสังคมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. การควบคุมสื่อออนไลน์
๒. การโฆษณาประชาสัมพันธ์การขายบริการ
๓. การปรับทัศนคติของคนในสังคมที่ไม่ตีตราผู้ค้าประเวณี
๔. สิทธิประโยชน์ที่ผู้ค้าประเวณีได้รับจากการลงทะเบียน
๕. การปกป้องเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าสู่กระบวนการค้าประเวณีมากขึ้น
ิ
๖. การพจารณาทบทวนพระราชบัญญัติสถานบริการเกี่ยวกับการระบุตัวตน ซึ่งส่งผลท าให้
ผู้ค้าประเวณีต้องมีประวัติ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ื่
รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพอเศรษฐกิจและสังคม ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการ ว่า การใช้สื่อ
โฆษณา ชักชวน หรือแนะน าเพื่อการค้าประเวณีผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งการกระท าในลักษณะอาจเข้าข่าย
ิ
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐
ิ
วรรค ๓ ซึ่งว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูล คอมพวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๗ ซึ่งว่าด้วยการโฆษณาหรือรับโฆษณา ชักชวนหรือแนะน าอันเป็นการเรียกร้องหรือการติดต่อ
เพื่อการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น
ในกรณีที่มีการตรวจพบการกระท าความผิด ตามมาตรา ๒๐ พระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถ
มีหนังสือไปยังศาลเพื่อขอระงับหรือปิดกั้น URL ที่กระท าความผิด อย่างไรก็ตาม กระบวนการระงับดังกล่าว
ใช้เวลาด าเนินการค่อนข้างนาน แต่การเผยแพร่ข้อมูลอนาจารที่ไม่เหมาะสมนั้นรวดเร็วกว่ามาก และเมื่อ
URL ที่ท าความผิดถูกระงับการใช้งาน ก็ผู้ใช้งานก็สามารถเปิดใช้งาน URL ใหม่ได้ในระยะเวลาไม่นาน
ดังนั้น การจับกุมผู้กระท าความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลทางคอมพวเตอร์จึงถือว่าเป็นภารกิจ
ิ
ที่ค่อนข้างยาก นอกจากนี้ การควบคุมเนื้อหาที่เผยแพร่ออนไลน์ก็กระท าได้ยากเช่นกัน เนื่องจากประเทศ
ไทยมิได้มีการใช้ทางผ่านอินเตอร์เน็ตช่องทางเดียว (Single Gateway) ซึ่งเป็นระบบที่ท าให้รัฐสามารถ
คัดกรองตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้ ซึ่งวิธีการ
แก้ปัญหาที่ยั่งยืน คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจ และการตระหนักรู้ให้ประชาชนใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่าง
เหมาะสม และมีวิจารณญาณในการรับชมรับทราบเนื้อหาที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน
ส าหรับแนวทางปฏิบัติในต่างประเทศ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถกระท าได้โดยเสรี
มิได้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาทางเพศ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ช่องทางของสังคมออนไลน์
เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ยูทิวบ์ (Youtube) หรือ ทวิตเตอร์ (Twitter) มีมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูล
ที่ไม่เหมาะสมที่เผยแพร่ในระบบ (Standard Committee) อาทิ เนื้อหาที่เกี่ยวกับการกระท าความรุนแรง
ต่อเด็กและสตรี และจะระงับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งสามารถช่วยคัดกรองการเผยแพร่ข้อมูล
ที่ไม่เหมาะสมได้ในระดับหนึ่ง ส าหรับภาพลามกอนาจาร ในต่างประเทศ ผู้ที่บรรลุนิติภาวะสามารถเผยแพร่