Page 89 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 89
ส่วนที่ ๓ หน้า ๗๗
๒. โดยทั่วไป ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
แต่ในกรณีของพนักงานบริการ อาจจะไม่เข้าข่ายการได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากไม่ได้มีการจ้างงาน
และการตกลงรับค่าจ้างแน่นอนเป็นรายเดือนหรือรายวัน แต่เป็นการตกลงรับเงินแลกกับการนั่งดื่มเป็นรายครั้ง
ั
หรือรายชั่วโมง ท าให้ไม่เกิดนิติสัมพนธ์ระหว่างลูกจ้าง-นายจ้าง ซึ่งส่งผลให้ไม่เกิดความคุ้มครองตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ตามมาตรา ๓๓ หรือ ๓๙ ในพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ั
ิ
๓. ในกรณีของนางสาวธิติมา นรพนธ์พพฒน์ หรือลัลลาเบล ซึ่งเป็นพนักงานบริการที่รับจ้าง
ั
อิสระ และได้รับความเดือดร้อนจากการที่ผู้จ้างกระท าละเมิดข้อตกลง ยังคงไม่มีกฎหมายใดที่คุ้มครอง
สวัสดิการพนักงานบริการลักษณะนี้ และไม่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ เนื่องจากเป็นการกระท าที่ยินยอมสมัครใจ
มิได้ถูกบังคับ
๔. พนักงานบริการสามารถสมัครเข้ารับสวัสดิการต่าง ๆ ตามมาตรา ๔๐ ของพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุไม่ต่ ากว่า
ื่
๑๕ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนเพอรับสิทธิประโยชน์ได้ โดยไม่จ าเป็น
ต้องระบุเจาะจงว่าประกอบอาชีพอะไร รวมทั้งสามารถเลือกเงื่อนไขและความคุ้มครองตามความสมัครใจได้
๓ ทางเลือก ดังนี้
๑) ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ ๗๐ บาท รัฐจ่ายสมทบ ๓๐ บาท รวมเป็นจ่ายสมทบ ๑๐๐ บาท
ื้
ซึ่งรับสิทธิประโยชน์พนฐานคุ้มครอง ๓ กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทน
การขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ และเงินค่าท าศพ
๒) ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ ๑๐๐ บาท รัฐจ่ายสมทบ ๕๐ บาท รวมเป็นเงินสมทบ ๑๕๐ บาท
ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง ๔ กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทน
การขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าท าศพ และเงินบ าเหน็จชราภาพ
๓) ผู้ประกันตนจ่าย ๓๐๐ บาท รัฐจ่ายสมทบ ๑๕๐ บาท รวมเป็นเงินสมทบ ๔๕๐ บาท
ได้รับสิทธิประโยชน์พนฐานคุ้มครอง ๕ กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทน
ื้
การขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าท าศพ เงินบ าเหน็จชราภาพ และเงินสงเคราะห์บุตร
๕. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ ยังมีจ านวนไม่มากนัก โดยอาจมีสาเหตุมาจากการ
ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกันสังคม การประชาสัมพนธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง และการไม่ตระหนัก
ั
ความส าคัญของการออมสะสมเพื่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของตนเองในอนาคต
๖. ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงาน หรือไม่ได้รับ
สวัสดิการตามที่ตกลงไว้ ลูกจ้างสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ส านักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประจ าจังหวัดต่าง ๆ และศาลแรงงาน ในปัจจุบัน เรื่องร้องทุกข์
ส่วนใหญ่ที่กระทรวงแรงงานได้รับแจ้งจะเกี่ยวข้องกับการไม่ได้รับค่าจ้างหลังจากที่สถานประกอบการปิดตัว
๗. พนักงานตรวจแรงงานมีอ านาจหน้าที่ในการตรวจสอบสถานที่ท างานในระหว่างเวลาที่มี
การปฏิบัติงานของลูกจ้างในสถานที่นั้น ๆ ทุกเวลาทั้งกลางวันและยามวิกาล เพอตรวจสอบการจ้างงาน
ื่
โดยพนักงานตรวจแรงงาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พนักงานที่อยู่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งมีอ านาจ
ในการรับเรื่องร้องทุกข์ ตรวจสอบและออกค าสั่งบังคับสถานประกอบการ และพนักงานตรวจแรงงาน
ที่อยู่นอกสังกัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งอาจอยู่ภายใต้หน่วยงานอื่น ๆ