Page 88 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 88
หน้า ๗๖ ส่วนที่ ๓
โดยที่ประชุมมีความเห็นต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่าเป็นกฎหมาย
ที่บังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงมีหลายมาตราที่ไม่สอดคล้องกับบริบททางสังคมในปัจจุบันที่ได้
เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก อีกทั้งบางมาตรายังเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จึงท าให้พระราชบัญญัติ
ฉบับดังกล่าวมีช่องว่างทางกฎหมายหลายประการ ท าให้ไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวควรที่จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดในแต่ละ
มาตราอย่างรอบคอบ
๒. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ที่ควรน ามาใช้ในการ
ิ
ื่
ประกอบการพจารณาศึกษาเพอแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้แก่
๒.๑ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๒ – ๒๘๖ ในส่วนของการก าหนดความผิดของ
ผู้ที่เป็นธุระจัดหาบุคคลเพื่อการค้าประเวณี ผู้เป็นธุระจัดหาเด็กเพื่อการค้าประเวณี เป็นต้น
๒.๒ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในส่วนของ
ื่
การก าหนดความผิดในฐานการค้ามนุษย์เพอการค้าประเวณี การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในการ
ค้าประเวณี และการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบที่กระท าต่อเด็ก เป็นต้น
๒.๓ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีการก าหนดควบคุม
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตประกอบการ การก าหนดควบคุมเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง รวมถึงกรณีการห้าม
เด็กเกี่ยวข้อง และห้ามไม่ให้ลามกอนาจาร เป็นต้น
๒.๔ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ในส่วนของ
การก าหนดความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เกี่ยวกับเพศ การค้าประเวณี และก าหนดความผิดเกี่ยวกับ
การเป็นเจ้าของกิจการค้าประเวณี เป็นต้น
๒.๕ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on
the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women: CEDAW) ที่ให้หลักประกันว่าสตรี
ื้
ต้องได้รับสิทธิประโยชน์และโอกาสจากรัฐบนพนฐานความเสมอภาค โดยยึดหลัก (๑) ความเสมอภาค
ระหว่างเพศแท้จริง (๒) ไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ และ (๓) รัฐภาคีต้องปฏิบัติตาม ซึ่งในปัจจุบันมี
ประเทศสมาชิกที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแล้ว จ านวน ๑๘๙ ประเทศ
ิ
ื่
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการมีความเห็นร่วมกันว่า เพอให้การพจารณาเพอแก้ไขปัญหาให้กับ
ื่
พนักงานบริการ และปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙
ั
เป็นไปด้วยความละเอียดและรอบคอบ ที่ประชุมควรมีการรับฟงข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งจากผู้ร้องเรียน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงน าข้อมูลที่ได้รับมาพิจารณาเพื่อก าหนดแนวทางในการด าเนินงานได้อย่าง
เหมาะสมต่อไป
กระทรวงแรงงาน
ผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับสถานะของพระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ และการคุ้มครองแรงงานนอกระบบหรือแรงงานอิสระ
ดังนี้
๑. ในปัจจุบัน กระทรวงแรงงานมิใช่หน่วยงานหลักที่ดูแลการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกัน
ั
และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ แต่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงพฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์