Page 307 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 307
๓๐๕
คุ้มค่าตามเกณฑ์ปริมาณและตรงตามมาตรฐาน จัดให้มีเอกสารการใช้อาคารและจัดท าประวัติการ
บ ารุงรักษาและสรุปประเมินผลอย่างชัดเจน
๕.๘ งานชุมชนภาคีและเครือข่าย
งานชุมชนและภาคีเครือข่ายมีความส าคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน งานชุมชน ตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๘ ที่บัญญัติ “ให้มี
การระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงินทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นๆ
โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา” ภาคีเครือข่าย คือ การจัดหรือเชื่อมโยงกลุ่มบุคคลหรือ
องค์กรที่สมัครใจที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน เรียนรู้และท ากิจกรรมร่วมกันด้วยความเป็นอิสระเท่า
เทียมกันภายใต้พื้นฐานของการเคารพในสิทธิของแต่ละคนเชื่อถือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การจัดภาคี
เครือข่ายในโรงเรียนมีทั้งในส่วนที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติในระเบียบและข้อบังคับและคณะกรรมการที่
จัดตั้งให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เช่น คณะกรรมการโรงเรียนขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองคณะกรรมการบริหารงานวิชาการสมาคมผู้ปกครองและครู สมาคม
นักเรียนเก่าหรือสมาคมศิษย์เก่า หน้าที่ส าคัญของหน่วยงานนี้ คือการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จัดท า
ข้อมูลพื้นฐานและสภาพแวดล้อมของชุมชนและภาคีเครือข่ายให้บริการแก่ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ชุมชนประสานและขอรับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากชุมชน รวมทั้งประเมินผลความต้องการและความพึง
พอใจของชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป
๖. การด าเนินงานธุรการ
งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดท า การรับ การส่ง
การเก็บรักษา การยืม จนถึงการท าลาย
หนังสือ หมายถึง หนังสือราชการ ปลัดส านักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการระเบียบและมีอ านาจ
ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ
๖.๑ ชนิดของหนังสือราชการ
หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
๑. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
๒. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปมาถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการที่มี
ไปถึงบุคคลภายนอก
๓. หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
๔. หนังสือที่ราชการจัดท าขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
๕. เอกสารที่ทางราชการจัดท าขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
โดยหนังสือราชการ แบ่งเป็น ๖ ชนิด ดังต่อไปนี้
๑. หนังสือภายนอก คือ หนังสือที่ติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือ
ติดต่อระหว่างส่วนราชการหรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอก
๒. หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือ
ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
๓. หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวน้าส่วนราชการระดับกรม
ขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้น
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา