Page 32 - 02_สทธมนษยชนกบการปฏบตงานของตำรวจ_Neat
P. 32
๒๕
(๑.๓) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and political rights) : สิทธิ
ของบุคคล เชน สิทธิในการแสดงความคิดเห็น, สิทธิในการมีสวนรวมทางการเมือง, สิทธิที่จะมีสัญชาติ,
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม, สิทธิที่จะไดรับรูขาวสาร, สิทธิทางการศึกษา, สิทธิในการรักษาพยาบาล,
สิทธิในการทํางาน ฯลฯ
(๒) สิทธิเชิงกลุม (Collective rights) เปนสิทธิในลักษณะกลุมซึ่งใหความสําคัญ
เหนือสิทธิสวนบุคคล เชน
(๒.๑) สิทธิชุมชน (Community rights) : พัฒนามาจากแนวคิดสิทธิมนุษยชน
เชื่อวาชุมชนมีสิทธิที่จะกําหนดแนวทางที่เหมาะสมแกชุมชนของตนเอง รวมถึงการรักษา ดูแล
ครอบครองไวซึ่งอัตลักษณ ความเชื่อ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ทรัพยากรของชุมชนไวดวย
¢ŒÍÊѧà¡μ :
ความหวาดกลัวตอแนวคิดสังคมนิยมในยุคสงครามเย็นเปนปจจัยหนึ่งที่ผลักดันใหสิทธิมนุษยชนในเชิง
รวมกลุมหรือสิทธิชุมชนไดรับการจัดตั้งขึ้นมาใหเปนรูปธรรม เชน ชุมชนดั้งเดิม ชุมชนพื้นเมือง กระจาย
แนวคิดทั่วโลกลดความเกรงกติการะหวางประเทศซึ่งนําไปสูการรับรองสิทธิของชุมชนที่ไดรับการยอมรับ
ทั่วโลก คือ การประชุมสุดยอดผูนําวาดวยการคุมครองสิ่งแวดลอมและการพัฒนาที่กรุงริโอเดอจาเนโร ในป
๑๙๙๒ ที่ไดมีการรับรองสถานะของชนพื้นเมือง จากนั้นในป ค.ศ.๑๙๙๓ องคการสหประชาชาติไดประกาศ
ใหเปนปแหงชนพื้นเมืองโลก ๘
(๒.๒) สิทธิในการรวมกลุม สมาคม : เปนสิทธิขั้นพื้นฐาน ประชาชนมีสิทธิในการ
รวมกลุมในรูปแบบตางๆ เชน สหภาพ, สหพันธ, องคกรเอกชน ฯลฯ
¢ŒÍÊѧà¡μ :
สิทธิเชิงปจเจกและสิทธิชุมชน อาจมีความคาบเกี่ยวกันอยูในบางประเด็น เชน การรวมกลุมทางการเมือง
ถือเปนสิทธิเชิงกลุมและเกี่ยวโยงกับสิทธิขั้นพื้นฐานของปจเจกชนทางดานสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เชนกัน
¡ÒÃẋ§»ÃÐàÀ·¢Í§ÊÔ·¸ÔÁ¹Øɪ¹μÒÁÂؤÊÁÑÂ
การแบงตามยุคสมัย เปนการแบงประเภทสิทธิมนุษยชนโดยนําประเด็นที่ไดรับความสนใจ
๙
ในแตละหวงเวลามาจัดกลุม และอิงตามผูมีหนาที่คุมครองสิทธิ (Rights bearer) ซึ่งมีทั้งที่ตองการ
พึ่งพาอํานาจรัฐและปฏิเสธไมใหอํานาจรัฐเขามายุงเกี่ยว การแบงเชนนี้ทําใหเห็นถึงพัฒนการทางดาน
สิทธิมนุษยชนของโลกไดอยางดี
๘ นิตยา โพธิ์นอก, “ชุมชนกับสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม”, สืบคนเมื่อ ๑๕ ก.ค. ๒๕๖๐, จาก kpi.ac.th/media/pdf/
M10_298.pdf
๙ การแบงสิทธิมนุษยชนออกเปน ๓ ยุคสมัย (Three generations of human rights) ขางตน ถูกกําหนดครั้งแรกโดย Karel Vasak
ผูอํานวยการสาขาสิทธิมนุษยชนและสันติภาพขององคการการศึกษา วิทยาศาสตร และวัฒนธรรมแหงสหประชาชาติ (UNESCO)
ในบทความที่เขาเขียนขึ้นเมื่อ ป ค.ศ.๑๙๗๗ ดู Karel Vasak, “Human Rights: A Thirty-Year Struggle: the Sustained Efforts
to give Force of law to the Universal Declaration of Human Rights,” UNESCO Courier ๓๐:๑๑ (๑๙๗๗).