Page 33 - 02_สทธมนษยชนกบการปฏบตงานของตำรวจ_Neat
P. 33
๒๖
Âؤáá
ใหความสําคัญกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and political rights)
ถือเปนประเด็นแรกๆ ในการเรียกรองสิทธิของประชาชน กลาวคือไมตองการใหรัฐเขามากาวกายสิทธิ
ของปจเจกชน เชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, เสรีภาพสื่อ, เสรีภาพในการสมาคม, เสรีภาพ
ในการนับถือศาสนา
เหตุที่สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองไดรับความสนใจเปนอันดับตนๆ ของกระบวนการ
เรียกรองสิทธิ อาจตองทําความเขาใจสภาพสังคมโดยเฉพาะหลังยุคกลาง (หรือยุคมืด) ที่คนเริ่มเชื่อ
ในหลักวิทยาศาสตรและยึดถือในหลักเหตุและผล ความรูจากศาสตรอื่นๆ ทั้ง ดาราศาสตร, คณิตศาสตร,
การแพทย, ภูมิศาสตร, กฎหมาย, ปรัชญา ทําใหผูคนมีความรูในเชิงประจักษมากขึ้น เกิดการเดินทาง
คาขาย เกิดการตั้งคําถามตอผูปกครองวาแทจริงแลวคนทั่วไปก็ควรสามารถเปนผูปกครองไดเชนกัน
ปรากฏการณที่สะทอนออกมาชัดเจนคือ การปฏิวัติอเมริกา (๑๗๗๖) และประกาศใชรัฐธรรมนูญ
๑๐
ที่ประกันสิทธิของพลเมือง โดยเฉพาะปจเจกชนใหเปนอิสระจากอํานาจรัฐ , การปฏิวัติฝรั่งเศส (๑๗๘๙)
เองก็มีการประกาศสิทธิของมนุษยและพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the
Citizen) หลังจากปฏิวัติโคนลมกษัตริยไดสําเร็จ
Âؤ·ÕèÊͧ
เนนสิทธิทางสังคม เศรษฐกิจ (Economic and social rights) การเนนเพียงสิทธิ
ทางการเมืองและพลเมืองไมตอบสนองตอวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เรื่องปากทองการทํามาหากินเปนเรื่อง
สําคัญมากขึ้น จึงเกิดการเรียกรองใหรัฐแสดงบทบาทที่จะสงเสริมโอกาสในชีวิตอันเทาเทียม เชน สิทธิ
ทางการศึกษา, สิทธิในที่อยูอาศัย, สิทธิดานสาธารณสุข, สิทธิในเรื่องสวัสดิการการทํางานตางๆ
สืบเนื่องจากองคความรูทางวิทยาศาสตรสงผลตอการเปลี่ยนสังคมขนานใหญในยุโรป
ไปสูสังคมอุตสาหกรรม เกิดระบบการผลิตแบบโรงงานเพื่อผลิตครั้งละมากๆ ความตองการแรงงานมีสูงขึ้น
เกิดชนชั้นแรงงาน (Working class) ซึ่งตองทํางานอยูภายใตสภาพการทํางานไมเหมาะสม การใชแรงงานเด็ก
๑๑
และจายคาจางในราคาตํ่าเปนเรื่องปกติ โดยที่ยังไมมีกฎหมายคุมครองแรงงานเหลานี้เกิดขึ้นในยุคนั้น
การสูญเสียชีวิตของแรงงานที่ทํางานหนักในสภาพแวดลอมที่ยํ่าแย ทําใหเกิดการรวมตัวกันเรียกรอง
ใหมีกฎหมายคุมครองแรงงาน มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน สวนคนที่มีฐานะเปนนายทุนก็ตองการ
เรียกรองสิทธิทางเศรษฐกิจมากขึ้นกวาเดิม เพื่อที่จะมีอํานาจควบคุม ตอรอง รวมถึงเอื้อประโยชนใน
การประกอบธุรกิจของตนมากขึ้น ยุคนี้จึงเปนยุคแหงการเนนสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจเปนสําคัญ
๑๐ เสนห จามริก, สิทธิมนุษยชน เกณฑคุณคาและฐานความคิด, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๔๔), หนา (๑๖)
๑๑ การปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๘-ตนคริสตศตวรรษที่ ๑๙) สืบคนเมื่อ ๒๕ ก.ค. ๒๕๖๐ จาก www.mwit.ac.th/~
daramas/In_Revarution.pdf)