Page 16 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 16
เรื่องที่ 1 ปัญหาที่พบ ในการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.
ครู กศน. ถือเป็นครูพันธุ์พิเศษ แตกต่างจากครูในสังกัดอื่น ๆ เพราะมีหน้าที่และภารกิจ
มากมาย นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน ได้แก่ การจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง
(การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน) การศึกษา
ตามอัธยาศัย การศึกษาส าหรับผู้ไม่รู้หนังสือ ซึ่งกลุ่มผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกเพศ
ทุกวัย ทุกอาชีพ รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส พระภิกษุ สามเณร ผู้ถูกควบคุมความประพฤติ แต่เมื่อพิจารณา
ค านิยามของค าว่า “ครู” หน้าที่ภารกิจหลักที่ส าคัญนั้นก็คือ การจัดการเรียนการสอน หรือที่หน่วยงานของ
กศน.เรียกว่า “การจัดกระบวนการเรียนรู้” ซึ่งครู กศน.สามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้แบบพบ
กลุ่ม ซึ่งคล้ายการจัดการเรียนการสอนของครูในระบบโรงเรียน แต่เน้นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุป
ความรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ด้วยตนเองเน้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันครูผู้สอนก็มีหน้าที่
เสมือนผู้อ านวยความสะดวกและให้ค าแนะน าในการศึกษาหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ การเรียนรู้แบบทางไกล
ซึ่งเน้นเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนแบบ e-learning โดยครูผู้สอนและผู้เรียนจะสื่อสารกันผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2553 : 26 - 31)
ไม่ว่าการจัดการเรียนรู้จะเป็นรูปแบบใดก็ตาม เชื่อว่า “ครู กศน.” แต่ละคนคงจะพบปัญหาที่หลากหลาย
กันไปตามบริบทที่แตกต่างกัน แล้วท่านเคยพบปัญหาระหว่างการจัดการเรียนรู้เหล่านี้บ้างไหม
- ผู้เรียนพูดจาไม่สุภาพ และบางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว
- ผู้เรียนไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าพูดคุยกับเพื่อนในกลุ่ม ไม่กล้าแสดงออกทางความรู้และ
ความคิด เช่น การน าเสนองานหน้าห้อง การแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม เป็นต้น
- ผู้เรียนบางคนอ่านออกเสียงและเขียนสะกดค าไม่ถูกตามหลักภาษาไทย
- ผู้เรียนไม่ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
- ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ
- ผู้เรียนมีผลการเรียนต่ า และบางคนไม่ชอบเรียนวิชาบังคับในสาระความรู้พื้นฐาน เช่น
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ
และปัญหาที่พบมากที่สุดในทุกพื้นที่ คือ ผู้เรียนขาดสอบปลายภาคเรียน หรือไม่เข้าร่วมกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) นอกเหนือจากนี้ครู กศน. หลาย ๆ คน อาจจะเคยประสบ
ปัญหาที่อื่น ๆ อีก เช่น
- ไม่มีห้องเรียน โต๊ะ เก้าอี้ หรือกระดาน
- ขาดแคลนวัสดุ สื่อการเรียนการสอน หรือสื่อที่มีอยู่ไม่มีคุณภาพและไม่ทันสมัย ฯลฯ
- ไม่สามารถปฏิบัติงานตามแผนการเรียนรู้ที่ก าหนดไว้ เนื่องจากมีภารกิจเร่งด่วนมากมาย
- หลักสูตรกว้างเกินไป เนื้อหาสาระแต่ละรายวิชามากเกินไป ไม่รู้จะสอนเนื้อหาอะไร
ใช้รูปแบบใด และวัดและประเมินผลอย่างไร จึงจะดี
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
2