Page 18 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 18
เรื่องที่ 2 ความส าคัญและประโยชน์ของการท าวิจัยอย่างง่าย
ครู กศน. หลาย ๆ คน ทั้งที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์การท าวิจัย คงจะรู้แล้วว่า
การวิจัยอย่างง่ายเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีความส าคัญและมีประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้เรียน รวมไปถึงสถานศึกษาด้วย
เนื่องจากการวิจัย เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา ทั้งการประเมินภายนอกและ
การประเมินภายใน ซึ่งสามารถสรุปความส าคัญและประโยชน์ของการท าวิจัยไว้ ดังนี้
ความส าคัญของการท าวิจัย
กฎหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีแนวคิดเรื่องการปฏิรูปการท างาน
ของครูให้เป็นครูมืออาชีพ รวมทั้งความจ าเป็นที่ครูผู้สอนต้องท าวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนถูกกล่าวถึง
อย่างแพร่หลาย เนื่องจากในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ก าหนดแนวทางการสนับสนุน
ให้ครูผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ไว้ในหมวดที่ 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา
มาตรา 24 (5) มีใจความส าคัญ ดังนี้
“ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอ านวย
ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้
ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ”
และมาตรา 30 กล่าวว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้ง
ส่งเสริมให้ผู้สอน สามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนในแต่ละระดับ
การศึกษา”
จากข้อความในพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ท าให้ครูผู้สอนต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลและ
พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้
เช่นกัน ในมาตรา 22 มีแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างจริงจังด้วยการใช้กระบวนการวิจัยในความหมายของ
การแก้ปัญหาแบบใหม่ การหาค าตอบแบบใหม่ โดยวิธีการที่เชื่อถือได้หรือวิธีการที่ยอมรับ ในศาสตร์นั้น ๆ
มากขึ้น
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
4