Page 23 - Top Executive Sharing
P. 23
21
3.1.2 ความเป็นตัวตน หมายถึง บุคลิก พฤติกรรม และอุดมคติหรือจุดยืนในการใช้ชีวิต ซึ่งใน
การปฏิบัติงานเราก็ต้องมีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ใช่ยอมทําตามใจผู้อื่นหรือผู้บังคับบัญชาจนสูญเสีย
ความเป็นตัวตนของตนเอง ความเป็นตัวตนของเราอยู่ที่ว่าเราจะเลือกเป็นแบบไหน เมื่อเวลาผ่านไปความเป็น
ตัวตนของเรานั้นจะเป็นเครื่องบ่งบอกให้คนรอบข้างรู้ว่าเราเป็นคนแบบไหนทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัว และในแง่ของ
การทํางาน ทั้งนี้ ในการมีตัวตนนั้นเราอาจต้องมาทบทวนกับตนเองก่อน ว่าที่จริงแล้วเราเป็นคนแบบไหนและ
อยากให้คนรอบข้างมีทัศนคติว่าเราเป็นคนเช่นไร ก็ลองไปทบทวนและปรับปรุงตนเองดูอีกครั้ง
3.1.3 ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง (Self-Development) อยู่เสมอ เพื่อเป็นการ
เพิ่มคุณค่าและโอกาสให้แก่ตนเอง โดยอาจจะให้วิธีการฟังข้อมูลต่าง ๆ จาก YouTube ในเวลาว่างระหว่าง
เดินทางมาปฏิบัติงานก็ได้ เช่น คลิปการสอนภาษาอังกฤษ เป็นต้น
3.2 การครองงาน
3.2.1 ในการปฏิบัติงานเราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและกล้าที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
ในการปฏิบัติงานที่ทํากันอยู่ในปัจจุบันบางกระบวนการอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องแต่ใช้วิธีทําตามกันมา ซึ่งหากเราไม่
ศึกษาค้นคว้าและไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้องหรือสอดคล้องกับสังคม สิ่งเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่กับ
องค์กรต่อไปจนนานวันเข้าก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรในที่สุด โดยทุกคนในองค์กรไม่ว่าจะอยู่ในตําแหน่ง
ไหนหรือระดับใดก็ล้วนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือพัฒนางานของตนเองให้ถูกต้อง
หรือดียิ่งขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยในการทํางานได้ จึงควรศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติมเพื่อพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
3.2.2 ในการปฏิบัติราชการจะมีการระบุอํานาจและหน้าที่มาให้ในแต่ละตําแหน่ง แต่ส่วนใหญ่
ในการปฏิบัติงานหลายคนมักมองแต่เรื่องของอํานาจตามตําแหน่งโดยไม่ให้ความสําคัญกับหน้าที่ของตน
ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลเสียกับตัวข้าราชการเหล่านั้นและองค์กรเองในการถูกร้องเรียน หรือถูกฟูองร้องไปยัง
ศาลปกครองในที่สุด
4. สิ่งที่อยากฝากไว้กับบุคลากรของส านักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และส านักงานรัฐมนตรี กระทรวง
ยุติธรรม
- อยากจะฝากให้ช่วยกันขับเคลื่อน หรือผลักดันในการให้กระทรวงยุติธรรมก้าวขึ้นเป็นผู้นํา หรือเป็นหลัก
ในการสร้างความยุติธรรมให้กับสังคมในประเทศไทยให้ได้ เนื่องจากเห็นว่าเมื่อพิจารณาจากยุทธศาสตร์
หรือนโยบายในระยะสั้นและระยะยาวนั้น พบว่ายังไม่มีหน่วยงานหรือยังไม่มีนโยบายที่จะปรับปรุงหรือปฏิรูป
กระบวนการยุติธรรมที่มีปัญหาความหลากหลายของมาตรฐานในกระบวนการอยู่
อีกทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ได้แก่ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(พนักงานสอบสวน), อัยการ, ศาล นั้น ยังไม่มีหน่วยงานใดที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ศึกษาการปฏิบัติงานของทั้ง
3 องค์กรนี้ รวมทั้งสร้างมาตรฐานในการดําเนินการให้อยู่ในกรอบ หรืออยู่ในกระบวนการที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
จึงเห็นว่ากระทรวงยุติธรรมเราควรเป็นองค์กรหลักในการดําเนินการเรื่องนี้ต่อไป เพื่อสร้างความเป็นธรรม
ให้แก่สังคม และลดปัญหาความแตกแยกของสังคมต่อไปในที่สุด