Page 158 - การให้รหัสโรค
P. 158
147
7
แนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรค
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective of learning)
เมื่อศึกษาเนื้อหาในบทนี้จบแล้ว สามารถ
1. เข้าใจและอธิบายแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคทางคลินิกที่พบบ่อยในแต่ละบทได้
2. สามารถให้รหัสโรคตามแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคทางคลินิกที่พบบ่อยในแต่ละ
บทได้
ในบทนี้จะกล่าวถึงการให้รหัสโรคในกรณีโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยแต่ละบทของ ICD-10 ตาม
แนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรค (Standard Coding Guideline) ดังนี้
การให้รหัสโรคกรณีต่างๆ ตามแนวมาตรฐานการให้รหัส
การให้รหัสโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำไส้ Antibiotic-association diarrhea
โรคท้องเดินที่เกิดในผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป โดยหา
สาเหตุอื่นไม่พบ ยืนยันการวินิจฉัยโดยผลตรวจ colonoscopy พบลักษณะ
1. pseudomembranous enterocolitis หรือ
2. ตรวจพบ toxin ของ clostridium difficile หรือ
3. เพาะเชื้อจากอุจจาระพบ clostridium difficile
ควรวินิจฉัยว่าเป็น antibiotic-associated with diarrhea หรือ pseudomembranous
enterocolitis หรือ enterocolitis due to clostridium difficile และควรระบุชนิดของยาปฏิชีวนะ
ที่เป็นสาเหตุด้วย
ดั ง นั้ น ถ้ า แ พ ท ย์ วิ นิ จ ฉั ย ว่ า antibiotic-associated with diarrhea ห รื อ
pseudomembranous enterocolitis หรือ enterocolitis due to clostridium difficile ให้รหัส
A04.7 Enterocolitis due to clostridium difficile และให้สาเหตุภายนอกตามชนิดของยา
ปฏิชีวนะที่เป็นสาเหตุ
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ