Page 159 - การให้รหัสโรค
P. 159
148
การให้รหัสอาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
เกิดจากการรับประทานอาหารที่มี toxin จากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการอาเจียน หรือ
อาเจียนร่วมกับท้องเดิน แต่อาการอาเจียนจะเด่นกว่า มีประวัติการรับประทานอาหารที่สงสัยว่าเป็น
สาเหตุเป็นเวลาไม่นาน ในกรณีที่เกิดจาก toxin จากเชื้อ Staphylococcus aureus หรือ Bacillus
ื่
cereus จะเกิดอาการใน 1-6 ชั่วโมง แต่ถ้าเกิดจาก toxin จากเชื้อแบคทีเรียชนิดอนอาจใช้เวลานาน
กว่านี้ ประวัติอื่นที่ช่วยสนับสนุนคือมีบุคคลอื่นร่วมรับประทานอาหารร่วมกันมีอาการด้วย
ึ้
แต่เนื่องจากในเวชปฏิบัติทั่วไปไม่มีการตรวจหา toxin และการเพาะเชื้อมักไม่ขน ยกเว้นอาจ
ุ
ิ
เพาะเชื้อในอจจาระพบ Vibrio parahaemoliticus แพทย์อาจวินิจฉัยสาเหตุของอาหารเป็นพษจาก
ประวัติหรือชนิดของอาหารที่ทำให้เกิดอาการ เช่น
▪ มีประวัติรับประทานอาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืน ทำให้สงสัยว่าเกิดจาก toxin จากเชื้อ
Staphylococcus aureus
▪ มีประวัติรับประทานอาหารเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ทำให้สงสัยว่าเกิด toxin จากเชื้อ
Clostridium perfringens
▪ มีประวัติรับประทานอาหารข้าวผัด หรือธัญพืช ทำให้สงสัยว่าเกิด toxin จากเชื้อ
Bacillus cereus
▪ มีประวัติรับประทานอาหารเนื้อทะเลสุกๆ ดิบๆ ทำให้สงสัยว่าเกิด toxin จากเชื้อ
Vibrio parahaemolyticus
ดังนั้นให้รหัสในกลุ่ม A05.- Other bacterial foodborne intoxication, not elsewhere
classified ตามชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่แพทย์ระบุว่าเป็นสาเหตุ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่า food
poisoning โดยไม่ระบุว่าเกิดจากอะไร ให้รหัส A05.9 Bacterial foodborne intoxication,
unspecified
การให้รหัสการติดเชื้อลำใส้จากไวรัส (Viral intestinal infection)
หมายถึงการติดเชื้อไวรัสในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินอย่างเฉียบพลัน ได้แก่
การติดเชื้อ rotavirus, Norwalk virus, adenovirus และ astrovirus ในการวินิจฉัยต้องอาศัยผล
การตรวจ enzyme immunoassay หรือ polymerase chain reaction (PCR) การติดเชื้อ
rotavirus พบบ่อยในเด็กอายุ 4-23 เดือน มาด้วยอจจาระเหลวเป็นน้ำ ตรวจไม่พบเม็ดเลือดใน
ุ
อุจจาระ อาจพบการติดเชื้อนี้ในคนเลี้ยงเด็ก นักท่องเที่ยว หรือผู้สูงอายุได้
ี่
ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทมีอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อไวรัสอย่างชัดเจน เช่น มี
ื
ไข้ ตัวแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ร่วมกับอาการท้องเดิน ปวดแน่นท้อง หรือท้องอด ตรวจเลือดพบเม็ด
เลือดขาวต่ำกว่าปกติ ร่วมกับมี lymphocytosis แพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็น viral gastroenteritis
หรือ viral gastritis
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ