Page 75 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 75

บทที่ 4 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาต     64
                                                                                                           ิ




                     นับตั้งแต่การใช้วัสดุที่ไม่ท าลายสภาพแวดล้อมและสามารถน ากลับมาใช้ใหม่ได้ การมีมัคคุเทศก์ที่มีความรู้
                     ในระบบนิเวศ และวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวอย่างแท้จริง การให้การศึกษาแก่นักท่องเที่ยวกับ
                     วัฒนธรรมประเพรีท้องถิ่นที่เป็นจุดหมายปลายทางก่อนไปถึง

                             องค์ประกอบด้านการจัดการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดการแบบยั่งยืน (Sustainable
                     Management Tourism) เพอก่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
                                              ื่
                     สัตว์ป่า (Responsibly Tourism) ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคม หรือเกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด
                     (No/Low Impact) การจัดการที่ยั่งยืนจะต้องครอบคลุมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดการสิ่งแวดล้อม
                     และการพฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีขอบเขต มีการควบคุมจ านวนนักท่องเที่ยวให้มีความสมดุลกับ
                              ั
                     ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว คือขีดความสามารถในการรองด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
                                                                ี
                     และจะต้องไม่เกินความสามารถของชุมชนท้องถิ่น อกทั้งยังมีนักท่องเที่ยวสม่ าเสมอตลอดทั้งปี มิใช่เฉพาะ
                     ฤดูกาลเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับผู้ที่ท างานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนี้

                                                                                        ื้
                             องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ เป็นการท่องเที่ยวที่เออต่อกระบวนการเรียนรู้
                     ทั้งระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวเอง รวมถึงการเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย โดยให้มี
                                                                      ื้
                     การศึกษา เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ความบอบบางของพนที่ทั้งในระบบนิเวศและความเปราะบางทาง
                                                  ิ่
                     วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการเพมพูนความรู้ ความประทับใจ เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตส านึก
                     ที่ถูกต้องต่อนักท่องเที่ยว ประชาชนท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อม
                     ศึกษา
                             องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม เป็นการท่องเที่ยวที่ค านึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน
                                                                          ื่
                     ท้องถิ่น ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการตั้งแต่ต้น ทั้งนี้เพอให้ชุมชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบทางลบ
                               ั
                     น้อยที่สุด อนจะก่อให้เกิดประโยชน์ระยะยาวแก่ทรัพยากรชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการกระจายรายได้
                     สู่ชุมชนท้องถิ่น การยกระดับคุณภาพชีวิตและการได้รับผลตอบแทน เพอกลับมาบ ารุงรักษาและจัดการ
                                                                                  ื่
                                                                                ั
                     แหล่งท่องเที่ยวด้วย และในที่สุดชุมชนท้องถิ่นสามารถควบคุมการพฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ
                     ท้องถิ่นในที่นี้ เริ่มต้นจากการระบบรากหญ้าจนถึงการปกครองท้องถิ่น และรวมถึงการมีส่วนร่วมของ

                     ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

                            4.1.3 ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
                             การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน กิจกรรมการท่องเที่ยว
                     เชิงนิเวศมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสภาพพนที่ของแหล่งท่องเที่ยวว่าเออต่อการจัดกิจกรรม
                                                                                          ื้
                                                                ื้
                     การท่องเที่ยวประเภทใด อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรม หรือความสนใจของนักท่องเที่ยวอีกด้วย
                             1) การเดินป่า (Trekking Tour) ป่าไม้ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีความหลากหลายมาก
                     เช่น ป่าไม้ในภาคเหนือจะพบทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสน ป่าดิบชื้น เป็นต้น ส่วนในภาคใต้จะพบ
                     ป่าพรุ ป่าดิบชื้น เป็นต้น กิจกรรมการเดินป่าจึงได้รับความนิยมมากขึ้น อทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง
                                                                                      ุ
                     ได้พยายามจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้น เพราะเป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
                     ทรัพยากรธรรมชาติต่ า เนื่องจากมีการควบคุม ดูแล และนักท่องเที่ยวมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม
                             2) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (Marine Ecotourism) คือ การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
                     ในแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ

                     ทางทะเล โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อม และ
                                                            ื่
                     การท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพอมุ่งให้เกิดจิตส านึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
                                                                                               ื้
                     3) การท่องเที่ยวแบบ Homestay หมายถึง การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นพนที่ที่มีลักษณะ
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80