Page 78 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 78
บทที่ 4 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาต 67
ิ
ต่อสิ่งแวดล้อมในเขตพนที่ของตนมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยดึงดูดให้ภาคการท่องเที่ยว
ื้
ของประเทศไทยต้องให้ความส าคัญกับผลกระทบ และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
ั
การท่องเที่ยวสีเขียว เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับการถ่ายทอดแนวคิดมาจากการพฒนา
อย่างยั่งยืน หรือสามารถกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีจุดเน้นที่
การพฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษา และสร้างความยั่งยืน รวมถึงการลดผลกระทบต่อ
ั
สิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หลายภาคส่วนในสังคมยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ต่อแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียว โดยเข้าใจว่าการท่องเที่ยวสีเขียวครอบคลุมเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หรือการท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่แท้จริงแล้ว การท่องเที่ยวสีเขียวมีขอบเขต
ครอบคลุมถึงการท่องเที่ยวทุกประเภท กิจกรรม และองค์ประกอบในภาคการท่องเที่ยวทั้งในระดับแหล่ง
ท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะให้ความส าคัญกับมิติด้าน
สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเป็นหลัก (เนื่องจากประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในบางพนที่ท่องเที่ยว หรือ
ื้
บางประเด็นสิ่งแวดล้อมของโลก มีความเปราะบางสูง) ในขณะที่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดที่ให้
ความส าคัญกับมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงอาจกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวทางเลือก
ื่
ที่มีเป้าหมายเพออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวสีเขียว
และการท่องเที่ยวสีเขียวก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยว
ที่ยั่งยืน ดังอธิบายตามแผนภาพด้านล่างนี้
ภาพที่ 4.1 การถ่ายทอดแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่การท่องเที่ยวสีเขียว
ที่มา: รายงานยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว ปี พ.ศ. 2560-2564
4.2.1 ประสบการณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียวของต่างประเทศ
ั
ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบของการพฒนาการท่องเที่ยวสีเขียวที่มีความโดดเด่น สามารถ
พจารณาได้จากการมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของการเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวสีเขียว การมีคะแนน
ิ
ดัชนีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการท่องเที่ยวและ
การเดินทาง ซึ่งจัดท าโดย World Economic Forum (2016) ในอันดับที่เหนือกว่าประเทศไทย (อันดับ 122)