Page 81 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 81
บทที่ 4 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาต 70
ิ
2. Green Logistics: การเดินทางสีเขียว วิธีการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม หมายความว่า วิธีการเดินทาง และรูปแบบการให้บริการในระบบการคมนาคม หรือการขนส่ง
ทางการท่องเที่ยวจากแหล่งพ านักอาศัยไปยังแหล่งท่องเที่ยว ต้องเน้นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงาน
ทดแทน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้รถ หรือเรือพลังงาน
แสงอาทิตย์ ใช้ระบบขนส่งมวลชนอย่างคุ้มค่า ขี่จักรยานเพื่อชมทิวทัศน์รอบเมืองแทนการขับรถ ฯลฯ
3. Green Attraction: แหล่งท่องเที่ยวสีเขียว แหล่งท่องเที่ยวต้องมีการบริหารจัดการตามกรอบ
นโยบาย และการด าเนินงานในทิศทางของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นการประสานการใช้ประโยชน์
เพื่อการท่องเที่ยวกับสภาพดั้งเดิมของแหล่งไว้ให้ได้ ภายใต้การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
4. Green Community: ชุมชนสีเขียว แหล่งท่องเที่ยวชุมชนทั้งในเมืองและชนบท ต้องมีความรู้
ที่จะบริหารจัดการการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน พร้อมที่จะด าเนินงานที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ั
ั
ที่ส าคัญต้องคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอนเป็นอตลักษณ์ของชุมชน สิ่งนี้ส าคัญมาก เพราะคนในชุมชน
ต้องมีความภาคภูมิในวิถีชีวิต และรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน เห็นแก่ส่วนรวม อกทั้งต้องเข้าใจอย่าง
ี
ถ่องแท้ว่า ชุมชนที่มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องท่องเที่ยว และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะท าให้การท่องเที่ยว
ของชุมชนยั่งยืนไปได้ตลอด
ื่
5. Green Activity: กิจกรรมสีเขียว กิจกรรมที่คุณสามารถท าได้เพอความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ตราบเท่าที่ไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นขี่จักรยาน ปีนเขา ด าน้ า ฯลฯ
6. Green Service: การบริการสีเขียว รูปแบบการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวแขนงต่าง ๆ
ที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวด้วยมาตรฐานคุณภาพที่ดี เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สิ่งเหล่านี้รวมถึงการจัดระบบบ าบัดของเสีย ขยะ สิ่งปฏิกูลที่เกิดจากนักท่องเที่ยวด้วย
7. Green Plus: ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าคุณจะเป็นแค่นักท่องเที่ยว
ธรรมดา หรือเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจการท่องเที่ยว คุณก็ต้องมีกิจกรรม หรือการบริจาคให้คืนกลับแก่
โลกใบนี้ด้วยความเต็มใจ และมุ่งหวังให้สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
นโยบาย 7 Greens หรือท่องเที่ยวสีเขียว 7 แบบนี้ เป็นเสมือน “แนวทาง” ในการด าเนินกิจการ
ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งระบบ สิ่งส าคัญอยู่ที่จะต้องรณรงค์ให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าใจถึงความส าคัญของ
การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับโลก ไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม และช่วยลดโลกร้อน
4.3 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-tourism)
ในปี ค.ศ. 1998-1999 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัด
โครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-tourism) ภายใต้แคมเปญ “Amazing Agricultural Heritage”
โดยได้น าหลักการ และแนวคิดด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในชนบท
และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิตการท าการเกษตรที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างช้านาน
โดยน านักท่องเที่ยวไปยังพนที่เพาะปลูกผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
ื้
ได้แล้ว ยังก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างนักท่องเที่ยว (ผู้มาเยือน) กับเกษตรกร (เจ้าบ้าน/
คนในท้องถิ่น) เพื่อสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติทางด้านการเกษตรไว้อีกด้วย (เทิดชาย ช่วยบ ารุง,
2553)
4.3.1 ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ื้
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้น ไม่ได้เป็นเพยงแต่การน านักท่องเที่ยวเข้าไปยังพนที่ที่ท าการเกษตร
ี
ี
และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพยงเท่านั้น ยังมีผู้ที่ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่แตกต่าง