Page 49 - Advande_Management_Ebook
P. 49

พลต�ารวจตรี ดร.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ                               47



                    การจัดการความขัดแย้งในองค์กร  (Organizational  Conflict
             Management) แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความขัดแย้ง

                    องค์กรที่ถูกสร้างขึ้นจากการที่มนุษย์ได้พัฒนาและมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
             มาตลอดหลายศตวรรษ มันเป็นความขัดแย้งแบบดั้งเดิม แบบเชิงปฏิสัมพันธ์หรือเชิง
             มนุษยสัมพันธ์ก็ตาม แต่ความขัดแย้งเหล่านั้นได้เริ่มก่อตัวตั้งแต่ระดับบุคคลกลุ่มคนจน

             ถึงองค์กรมาเป็นเวลานาน มนุษย์ได้ร่วมกันคิดและมีขีดความสามารถที่จะสร้างสถาบัน
             ขึ้นในภาคธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการเข้าไปสู่ต�าแหน่งในสถาบันของภาครัฐก็ตาม จะมี

             หน่วยงานหลักหลายหน่วยงานย่อยรวมกันขึ้นเป็นองค์กรขนาดเล็กบ้าง ขนาดกลาง
             บ้าง ขนาดใหญ่บ้างก็ตาม ทุกองค์กรจะมีทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจหลักในการขับ
             เคลื่อนองค์กรดังกล่าว และเราจะพบว่าในแต่ละองค์กรจะเกิดความขัดแย้งเสมอๆ

             สาเหตุของความขัดแย้งในองค์กร คือ  1) การติดต่อสื่อสาร หรือข้อความที่สื่อสารกัน
             2) ลักษณะงานที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน  3) การก�าหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของ

             งานไม่ชัดเจน  4) การแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีอย่างจ�ากัด  5) การชิงดีชิงเด่น
             ของพันธกิจและกลยุทธ์ขององค์กรเกิดขึ้นในองค์กรทุกแห่ง สอดคล้องกับงานวิจัย
             ของ ศิริวรรณ มนตระผดุง กล่าวไว้ว่า องค์การภาครัฐและภาคเอกชนมีทรัพยากร

             มนุษย์เป็นผู้ขับเคลื่อนการท�างานให้องค์กรน บรรลุเป้าหมายที่ก�าหนดไว้ หากบุคลากร
             เกิดความขดแย้งไม่ลงรอยกัน ไม่สามารถท�างานร่วมกัน หรือประสานประโยชน์ให้

             เกิดการท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมส่งผลต่อการด�าเนินงานขององค์กร
             และท�าให้องค์การไม่สามารถก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง ด้วยความส�าคัญของความขัด
             แย้ง ผู้บริหารองค์กรจึงควรน�าแนวคิดที่เกี่ยวกับความขัดแย้งสมัยใหม่มาสร้างวิธีการ

             แก้ไขปัญหาในเรื่องตความขัดแย้งอย่างเหมาะสม โดยเข้าใจถึงสาเหตุของความขัดแย้ง
             ว่ามีหลายสาเหตุ เช่น ความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและอ�านาจหน้าที่ การ

             ติดต่อสื่อสาร ผลประโยชน์ การแย่งชิงทรัพยากร และความขัดแย้งจากบุคลิกภาพ
             เฉพาะตัวของบุคคล เป็นต้น ส�าหรับการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการของความขัดแย้ง
             ของ สเต็บเพน รอบบินส์ ประกอบด้วย 5 ระยะ ได้แก่  1) ก่อตัวของการต่อต้าน หรือ

             ความไม่ลงรอยที่รุนแรงพอ  2) ฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงความขัดแย้ง  3) ตั้งใจท�าอย่าง
            ใดอย่างหนึ่ง  4) พฤติกรรมที่แสดงออกมา และ  5) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง

            จากการศึกษาของ โทมัส และคิลแมน พบว่า การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54