Page 51 - Advande_Management_Ebook
P. 51
พลต�ารวจตรี ดร.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ 49
ที่ไม่เท่าเทียมกัน ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์ที่ไม่สามารถตกลงกันได้หรือ
สภาวะอารมณ์ที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหรือบุคคลซึ่งผู้น�า
หรือสมาชิกในทีมล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเหล่านั้นในทางตรงและทางอ้อม
ความขัดแย้งในองค์กรหมายถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา โดยมีคู่กรณีขัดแย้งเป็นบุคคล
หรือกลุ่มบุคคลย่อยที่มีอยู่ในกลุ่มหรืออยู่ในองค์กรหรือกลุ่มต่าง ๆ ความขัดแย้ง
ประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกลุ่มและแผนกโดยองค์กรมองเห็นว่าวิธีการปฏิบัติงาน
ระเบียบในการท�างานหรือนโยบายของบริษัทไม่สามารถเอื้ออ�านวยต่อความต้องการ
ของแต่ละฝ่ายได้ นอกจากนั้น การมอบหมายงานหรือการกระจายงานที่ไม่มีมาตรฐาน
ที่ชัดเจน อาจน�ามาซึ่งความรู้สึกไม่พอใจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลกลุ่ม
และแผนกขึ้น เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น ความขัดแย้ง
นั้นจะกลายเป็นความขัดแย้งระดับองค์กรทันที (วรายุทธ ทุมไพริน. 2561: ออนไลน์)
กระบวนการและการวิเคราะห์ความขัดแย้ง
ปัจจัยที่ส�าคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งจะมีส่วนมาจาก 5 ประการ ดังนี้
1) ความต้องการ 2) การรับรู้ 3) อ�านาจ 4) ค่านิยม 5) ความรู้สึกและอารมณ์
กระบวนการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงสามารถสรุปได้ ดังนี้
การจัดการความขัดแย้งและการแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร ด้วยการ
ไกล่เกลี่ยและการเจรจาต่อรอง ส�าหรับผู้บริหารการจัดการความขัดแย้ง จึงเป็นไปได้
ทั้งในระดับป้องกันและแก้ไข เช่น ในบทความในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ได้กล่าว
ถึงว่า ความขัดแย้ง บางครั้งมันคือความเห็นที่แตกต่างในการอ่านข้อมูล ไม่มีใครถูก
ใครผิด ความขัดแย้งยังมีข้อดีตรงที่คอยเตือนสติไม่ให้กลุ่มหลงไปในทางเดียวกันแล้ว
ตัดสินใจท�าในสิ่งที่จริง ๆ แล้วไม่มีใครต้องการ เพียงแค่รักษาความรู้สึกว่า “ไม่อยาก
มีปัญหา”
ดร.โรเบิร์ต เอ็ม. แอนเดอร์สัน ที่ปรึกษาด้านภาวะผู้น�าและการสื่อสารมา
นานกว่า 25 ปี และอาจารย์พิเศษของสถาบัน International Center for Coope-
ration and Conflict Resolution (ICCCR) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ให้มุมมอง
ด้านการบริหารจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ไว้อย่างน่าสนใจในที่ท�างาน
ผู้บริหารหลายท่านอาจได้พบกรณีที่ว่ามอบหมายให้คนบางคนท�างานร่วมกันแล้วเกิด