Page 50 - Advande_Management_Ebook
P. 50

48                                         เอกสารประกอบการสอน : การจัดการขั้นสูง



           มี 5 รูปแบบ ได้แก่ การแข่งขัน การประนีประนอม การร่วมมือ การหลีกเลี่ยง และ
           การยินยอม โดยจะต้องน�ามาปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อย่างไร

           ก็ดี การจัดการความขัดแย้งในองค์การสร้างสรรค์ ผู้บริหารจะต้องมีบทบาทส�าคัญใน
           การจัดการความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
           และเปิดใจกว้างที่จะแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้บุคลากรในองค์การสามารถ

           สร้างผลการท�างานได้อย่างมีประสิทธิภาพและน�าไปสู่การบริหารงานองค์การได้อย่าง
           สร้างสรรค์ (ศิริวรรณ มนตระผดุง. 2559: บทคัดย่อ)



                  ความขัดแย้งภายในองค์กร
                  ในความขัดแย้งต่าง ๆ นั้นถือได้ว่าเป็นธรรมชาติของสังคมทุกสังคมย่อมจะ

           เกิดขึ้นจากคนหลากหลาย จากกลุ่มที่หลากหลายและที่ส�าคัญความคิดของมนุษย์ย่อม
           น�าพาไปสู่ความขัดแย้ง ดังนั้น ความขัดแย้งของบุคคลและกลุ่มคนก็น�าเข้าสู่ความขัด

           แย้งภายในองค์กรเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ความขัดแย้งขององค์กรนั้นเกิดขึ้นมาจากการ
           สะสมของความขัดแย้งที่มีระหว่างบุคคลและกลุ่มคนนั้น จนท�าให้เกิดประเด็นความ
           ขัดแย้งในหลากหลายมิติ เช่น ความขัดแย้งจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับแนวความคิด

           ของผู้บริหารจากนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือแม้กระทั่งการวางกลยุทธ์ และผู้
           ปฏิบัติในองค์กร ไม่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องหรืออาจจะขัดแย้งเกิดขึ้นก็ตาม เพราะ

           ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดจากแรงจูงใจของบุคคล ความเชื่อที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล ตลอดจน
           ความรู้หรือความช�านาญก็ตามจะเกิดการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายเกิดขึ้นภายในองค์กรจน
           ท�าให้เกิดเป็นสองแนวความคิดขึ้นไป ดังนั้น แต่ละกลุ่มของคนในองค์กรที่มีหลาก

           หลายความคิดนั้นก็จะเกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์กร ในองค์กรสมัยใหม่นั้นจึงจ�าเป็น
           ที่จะต้องมีกระบวนการในการจัดการองค์กรที่มีความขัดแย้งอย่างหลากหลายในยุค

           ปัจจุบันนี้ มิใช่มีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากระดับชั้นของคนหรือต�าแหน่งหน้าที่แม้
           กระทั่งองค์ความรู้ที่มีอยู่ ก็ก่อให้เกิดแนวคิดที่ขัดแย้งกันได้ จึงจ�าเป็นที่ต้องมีการ
           วิเคราะห์ความขัดแย้งของคนในองค์กร ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกของคนหนึ่งกลุ่ม

           คนที่มีความิดเห็น ทัศนคติความต้องการที่แตกต่างและความไม่เห็นด้วยระหว่างบุคคล
           ตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือกลุ่มบุคคลอันเกิดจากความต้องการหรือการจัดสรรด้าน

           ทรัพยากรต่าง ๆ หรือกิจกรรม การท�างานหรือเกิดจากความแตกต่างในฐานะต�าแหน่ง
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55