Page 52 - Advande_Management_Ebook
P. 52
50 เอกสารประกอบการสอน : การจัดการขั้นสูง
การ “ฮั้ว” กัน ท�าให้องค์กรโดยรวมเสียประโยชน์ ดังนั้น การจัดการให้มีการคาน
อ�านาจกันนิดๆ ในต�าแหน่งที่เหมาะสมน่าจะเป็นสิ่งที่ต้องด�าเนินการ ตัวอย่างเช่น
ผู้บริหารอาจไม่ต้องการให้พนักงานฝ่ายขายและฝ่ายบัญชีมีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้
ชิดกันในที่ท�างาน ซึ่งอาจน�าไปสู่การมีข้อตกลงระหว่างกันเองที่อาจน�าไปสู่ความ
ไม่โปร่งใสในการจัดการ ADVERTISEMENT
กรณีนี้การเข้าบริหารความขัดแย้งคือการจัด “ระบบ” ให้มีการตรวจสอบ
กันระหว่างกัน โดยให้แต่ละฝ่ายต่างท�าหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ
ส่วนรวม โดยที่ระบบไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างบุคคล
ในทางกลับกัน ผู้บริหารที่มีสมาชิกครอบครัวท�างานอยู่ร่วมกันในบริษัท อาจคิดว่า
ช่วยกันท�าช่วยกันเก็บเงิน แต่ไปจัดวางให้สมาชิกครอบครัวมาแข่งขันกันเอง ซึ่งผล
งานดีของคนหนึ่งอาจกลายเป็นสปอตไลท์ส่องข้อด้อยของอีกคนหนึ่งแล้วน�าพาไปสู่
การแข่งขันที่เป็นเรื่องส่วนตัว แทนที่จะเป็นเรื่องงาน ทั้ง ๆ ที่สมาชิกครอบครัวทุกคน
ต่างมีความตั้งใจดีท�าเพื่อบริษัทด้วยกันทั้งสิ้น
แนวทางการป้องกันอาจท�าได้โดยสร้างระยะห่างในการท�างานของสมาชิก
เช่น แยกความรับผิดชอบของสมาชิกให้ออกจากกัน โดยที่ผลงานของตคนหนึ่งไม่ไป
กระทบของอีกคนหนึ่งในทางลบ โดยการดูแลงานคนละพื้นที่หรือรับผิดชอบสินค้า
ต่างชนิดกัน เมื่อความข้ดแย้งเกิดขึ้นแล้ว จะท�าอย่างไรดี ? กรณีที่เตรียมการป้องกัน
แล้ว เป้าหมายที่รุมเร้าของงสานก็ยังไม่วาย เป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานมีปั้นปึ่งใส่กัน
เพราะบ้างก็มีอุปนิสัยพูดน้อย คาดว่าอีกฝ่าย “น่าจะเข้าใจ” ในขณะที่ฝ่ายตรงข้าม
เริ่มหงุดหงิดที่ไม่แสดงความต้องการออกมา ไป ๆ มา ๆ เรื่องความเห็นต่างที่ไม่ได้รับ
การดูแลถูกแรงกดดันจากงานพัดพาไปในทางที่ไม่ต้องการ อารมณ์เริ่มเข้ามามีบทบาท
ด้วยการแต่งแต้มเติมสีให้แต่ละฝ่ายต่างลืมความต้องการลึก ๆ ที่ว่า เราต้องการท�าให้
งานส�าเร็จด้วยกันทั้งคู่ ยิ่งแต่ละฝ่ายขาดทักษะที่จะสื่อสารความต้องการของกันและ
กันออกมาแล้วจะน�าไปสู่การท�างานในแบบ “ท�าได้แค่ร่วมงานแต่ไม่ร่วมใจ”
ดังนั้น ทักษะการจัดการความขัดแย้งในขั้นนี้ต้องช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง
กลับมาพูดคุยกันถึงสิ่งที่ก่อนหน้านี้อาจพูดไม่ออก หรือที่เรียกว่า Underlying Needs
ในกรณีที่ต้องมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มต้นด้วยการ “รับฟัง” จากนั้นเข้าสู่ขั้นที่
ทั้งสองเพื่อเปลี่ยนกรอบความคิดหรือว่า Reframe โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ