Page 72 - Efavirenz WHO PQ: A case study of a public-private collaboration
P. 72

บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผล ส่วนที่ 1: 17 ปี ของการท างานร่วมกัน เพื่อบรรลุ WHO PQ    | 55





                                     จะเห็นว่า อภ. เริ่มการด าเนินการเกี่ยวกับการขอรับรองมาตรฐาน WHO PQ ตั้งแต่
                       ปี พ.ศ. 2545 จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ.2553 กิจกรรมการด าเนินการเกี่ยวกับการขอรับรองมาตรฐาน

                       WHO PQ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดการอาคารสถานที่ และการเตรียมความพร้อมด้าน

                       เอกสารและกระบวนการผลิต ส าหรับการเตรียมความพร้อมด้านเอกสาร กระบวนการผลิต รวมทั้ง
                       การจัดการระบบคุณภาพ เช่น โครงสร้างองค์กร ทางองค์การเภสัชกรรมได้ท าการศึกษาเปรียบเทียบ

                                                                                                ื่
                       และน าโครงสร้างของบริษัทในต่างประเทศ เช่น Mylan,  Aurobindo และบริษัทอนๆ ที่ได้รับ
                       WHO PQ มาพิจารณาและปรับให้เข้ากับเนื้องาน  ก าลังการผลิต ของโรงงานผลิตยารังสิต 1
                                     ประเด็นด้านข้อบกพร่องจากการตรวจประเมินสถานที่ผลิตยา ณ อภ. พระรามหก

                                                                      ื่
                       ที่ส่งผลให้ผู้บริหาร ตัดสินใจให้มีโรงงานผลิตยารังสิต 1 เพอการขอรับรอง WHO PQ  (รายละเอียดใน
                       บทที่ 6) ได้แก  ่
                                     1. อาคารสถานที่: จากการตรวจประเมินสถานที่ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ของ อภ.

                       พระรามหก ณ สถานที่ผลิตเดิม ในปี พ.ศ.2545 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2548 ยังพบข้อบกพร่องใน
                       ด้านอาคารสถานที่ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งในการพจารณาโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์
                                                             ิ
                       แห่งใหม่ขององค์การเภสัชกรรม เพอพัฒนาให้สอดคล้องตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ในการ
                                                   ื่
                       ขอรับรอง WHO Prequalification Programme (WHO PQ) โดยคณะผู้ตรวจประเมินจากองค์การ

                                7
                       อนามัยโลก  ได้ให้ข้อสังเกต ดังนี้
                                         1) ผังการไหลของกระบวนการผลิตยา (process flow) ไม่เป็นลักษณะไปใน
                                            ทิศทางเดียว (uni-directional flow)

                                         2) ปัญหา penicillin residue contamination เนื่องจากอาคารผลิตยาต้าน

                                            ไวรัสเอดส์ ขององค์การเภสัชกรรม พระรามหก ตั้งอยู่ใกล้กับอาคารผลิตยา
                                            กลุ่ม penicillin ซึ่งขณะนั้นพบว่าผลการทดสอบ การปนเปื้อน penicillin

                                            ในสิ่งแวดล้อม มี residue หลงเหลืออยู่ แต่ไม่พบการปนเปื้อน penicillin
                                            ในผลิตภัณฑ์อื่น

                                     ในการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์แห่งใหม่ขององค์การเภสัชกรรม

                       จึงมุ่งเน้นมาตรฐานให้สอดคล้องตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และแก้ปัญหาตามข้อสังเกต
                       ของคณะผู้ตรวจประเมินขององค์การอนามัยโลก โดยออกแบบสายการผลิตให้เป็นแบบมีทิศทางการ

                       ไฟล์ของกระบวนการเป็นทิศทางเดียว (Uni-directional flow) และจัดระบบสายการผลิตเป็นแบบ
                       หนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อหนึ่งสายการผลิตต่อช่วงเวลา (one line - one product) เพอลดความเสี่ยงของ
                                                                                         ื่
                       การปนเปื้อนข้ามระหว่างผลิตภัณฑ  ์





                       7  WHO Inspection Report, Government Pharmaceutical Organization (GPO), Bangkok, Thailand, 25-28 October 2005.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77