Page 27 - รายงานวิจัยชั้นเรียนปี 2562 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
P. 27

5.3 ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

                                 (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2541: 38 – 45; และอุไรวรรณ พรน้อย. 2545: 5 – 7)

                                 1. ขั้นเตรียม กิจกรรมในขั้นเตรียมประกอบด้วย ครูแนะน าทักษะในการเรียนรู้ ร่วมกัน
                       และจัดเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 2 – 6 คน ครูควรแนะน าเกี่ยวกับระเบียบของกลุ่มบทบาท และ

                       หน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนและการท ากิจกรรมร่วมกันและการฝึกฝนทักษะ

                       พื้นฐานที่จ าเป็นส าหรับการท ากิจกรรมกลุ่ม
                                 2. ขั้นสอน ครูน าเข้าสู่บทเรียน แนะน าเนื้อหา แนะน าแหล่งข้อมูล และมอบหมายงาน

                       ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม

                                 3. ขั้นท ากิจกรรมกลุ่ม นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อย โดยที่แต่ละคนมีบทบาทและ
                       หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในกลุ่ม จะได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อผลงานของกลุ่ม

                       ในขั้นนี้ครูจะก าหนดให้นักเรียนใช้เทคนิคต่างๆ กัน ในการท ากิจกรรมแต่ละครั้งเทคนิควิธีที่จะใช้

                       จะต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการเรียนแต่ละเรื่อง และอาจใช้หลายๆ เทคนิคประกอบกัน
                       เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียน

                                 4. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ ในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนปฏิบัติหน้าที่

                       ครบถ้วนหรือไม่ ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร เน้นการตรวจสอบผลงานของกลุ่มและรายบุคคลในบาง
                       กรณีผู้เรียนอาจต้องซ่อมเสริมในส่วนที่บกพร่อง ต่อจากนั้นจึงเป็นการทดสอบความรู้

                                 5. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทางานกลุ่ม ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน

                       ถ้าสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจ ครูควรอธิบายเพิ่มเติมครูและนักเรียนช่วยกันประเมินผลการท างานกลุ่มและ
                       พิจารณาว่า อะไรคือจุดเด่นของงาน




                              5.4 บทบาทของครู และผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบทบาทครูบทบาทของครู

                       บทบาทของครู

                                 1. ก าหนดขนาดของกลุ่ม และลักษณะของกลุ่มโดยคละความสามารถ
                                 2. ดูแลการจัดลักษณะการนั่งของสมาชิกกลุ่มให้สะดวกที่จะท างานร่วมกัน และง่ายต่อ

                       การสังเกตและติดตามความก้าวหน้าของกลุ่ม

                                 3. ชี้แจงกรอบกิจกรรมให้นักเรียนทุกคนเข้าใจวิธีการ และกฎเกณฑ์การท างาน
                                 4. สร้างบรรยากาศที่สร้างเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

                       ของสมาชิกในกลุ่ม
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32