Page 113 - 2557 เล่ม 1
P. 113
๑๑๓
ได้มาตรวจสอบความบกพร่องของโจทก์ทั้งสอง นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองยังถูกย้ายงาน
ไปทํางานในตําแหน่งอื่นที่ไม่ใช่สายงานด้านบัญชีและไม่เคยมีการแต่งตั้งผู้ใดมาก่อน
แม้เป็นการสั่งโดยใช้อํานาจบริหารงานบุคคลของจําเลย แต่โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิ
ที่จะขอทราบคําอธิบายชี้แจงจากผู้บริหารของจําเลยได้หากเห็นว่าเป็นคําสั่ง
ที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ทั้งสองขับรถยนต์ไปที่บริษัทซัมมิทออโตซีทอินดัสตรี จํากัด
เพื่อจะขอเข้าพบผู้บริหาร ซึ่งก่อนหน้านี้โจทก์ทั้งสองก็เคยเข้าไปพบผู้บริหารและ
สามารถนํารถยนต์ผ่านประตูเข้าไปได้ แต่เมื่อผู้บริหารของจําเลยไม่ยอมให้เข้าพบ
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงไม่ยอมเปิดประตูให้โจทก์ทั้งสองนํารถยนต์เข้าไป
จอดในสถานที่จอด โจทก์ทั้งสองจึงจอดรถยนต์ขวางประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว
และจอดอยู่ไม่นาน รถยนต์ของบริษัทซัมมิทออโตซีทอินดัสตรี จํากัด ยังสามารถ
เข้าออกได้นั้น แม้การกระทําของโจทก์ทั้งสองในตอนหลังดังกล่าวจะมิใช่วิธีการที่
ถูกต้องนักและอาจสร้างความไม่สะดวกแก่รถยนต์ที่แล่นผ่านเข้าออกบริษัทบ้าง แต่
ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ถึงขนาดจะเลิกจ้างได้ เมื่อจําเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพียงพอ จึงเป็น
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ทั้งสอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน
และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ที่ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษามานั้น
ศาลฎีกาเห็นชอบในผล อุทธรณ์จําเลยข้อนี้ฟงงไม่ขึ้น
อนึ่ง ในส่วนที่โจทก์ทั้งสองขอให้จําเลยจ่ายเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
แก่โจทก์ทั้งสอง และศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จําเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่
โจทก์ทั้งสองนั้น พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ.๒๕๓๐ มาตรา ๗
บัญญัติให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล และมาตรา ๒๓
บัญญัติให้เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุน
ต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้าง จําเลยจึงไม่มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดการ
เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอํานาจฟ้องให้จําเลยจ่ายเงินสะสม
จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแก่โจทก์ทั้งสองได้ และในส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้
จําเลยจ่ายดอกเบี้ยของจํานวนเงินค่าชดเชยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ ๑๕ ต่อปี
แต่ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาให้จําเลยจ่ายดอกเบี้ยของจํานวนเงินค่าชดเชย