Page 491 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 491

๔๗๙


                 ทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒๗ ทวิ วรรคสอง และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา

                 ๑๕๗/๑ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด มีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทาง

                 บก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕๗/๑ วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา
                       ี
                                                                                           ิ
                 ๙๑ เพยงบทเดียว จ าคุก ๘ เดือน จ าเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพจารณา มีเหตุ
                 บรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจ าคุก ๔ เดือน พักใช้ใบอนุญาต
                 ขับขี่ของจ าเลยมีก าหนด ๖ เดือน นับแต่วันมีค าพิพากษา

                            จ าเลยอุทธรณ์

                                                      ิ
                            ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจ าเลย ๒๐,๐๐๐ บาท อีกสถาน
                 หนึ่ง ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ แล้ว คงปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมกับ

                 โทษตามค าพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นจ าคุก ๔ เดือน และปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท โทษจ าคุกให้รอการ

                                                                    ิ
                                                             ่
                                                                                            ั
                 ลงโทษไว้ ๒ ปี คุมความประพฤติไว้ ๑ ปี นับแต่วันที่อานคพพพากษาศาลอทธรณ์ให้จ าเลยฟง โดยให้จ าเลย
                                                                              ุ
                 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ๔ ครั้ง ตามก าหนดเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นควรก าหนด และ
                 ให้จ าเลยกระท ากิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจ าเลย
                 เห็นสมควร มีก าหนด ๑๒ ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ กรณีไม่ช าระค่าปรับให้จัดการ

                 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามค าพิพากษาศาลชั้นต้น

                            โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
                            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจ าคุกให้แก่จ าเลยนั้น เห็นว่า การที่

                 จ าเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจ ารถขับรถบรรทุกสิบล้อ อาจก่อให้เกิดความเสีย
                 หายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นที่ใช้เส้นทางเดินรถร่วมกับจ าเลยได้ทุกขณะเพราะ

                 อาการมนเมาเมทแอมเฟตามีนย่อมท าให้ขาดสติ ไม่สามารถใช้ความระมัดระวังในการขับรถได้อย่างเต็มที่
                        ึ
                 ดังเช่นในภาวะที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ พฤติการณ์ในการกระท าความผิดของจ าเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง
                                                                                                       ื่
                 แม้จ าเลยไม่เคยได้รับโทษจ าคุกมาก่อน หรือมีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว หรือมีเหตุอน
                                                      ื่
                                                   ั
                                      ี
                                                                                               ิ
                                                                                         ุ
                 ก็ตาม ก็มิใช่เป็นเหตุผลเพยงพอที่จะรับฟงเพอรอการลงโทษจ าคุกให้แก่จ าเลย ที่ศาลอทธรณ์พพากษามา
                 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
                                                                                                      ้
                            พพากษาแกเป็นว่า ไม่ปรับ ไม่รอการลงโทษ ไม่คุมความประพฤติของจ าเลย นอกจากที่แกให้
                                      ้
                              ิ
                 เป็นไปตามค าพิพากษาศาลอุทธรณ์
                            แนวการลงโทษของศาลชั้นต้นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติด
                            มีแนวทางก าหนดการลงโทษตามบัญชีมาตฐานโทษโดยให้ความส าคัญประเภทของรถ การกระท า

                 ความผิดซ้ า โดยกรณีผู้เสพเมทแอมเฟตามีน ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลหรือรถยนต์ส่วนบุคคลครั้งแรกศาล
                         ิ
                 จะใช้ดุลพนิจในการลงโทษจ าคุก ๘ เดือน และปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท หากจ าเลยให้การรับสารภาพจะลดโทษให้
                 กึ่งหนึ่งคงลงโทษจ าคุก ๔ เดือน และปรับ ๑๕,๐๐๐ บาท โทษจ าคุกให้รอไว้มีก าหนด ๓ ปี คุมความประพฤติ ๒
                 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ๘ ครั้ง และท างานบริการสังคม ๒๔ ชั่วโมง  แต่หากเป็นรถ

                 ประเภทอนหรือกระท าความผิดครั้งที่สอง ศาลจะใช้ดุลพินิจจ าคุกจ าเลยโดยไม่รอการลงโทษ
                         ื่
   486   487   488   489   490   491   492   493   494   495   496