Page 267 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 267
ฉบับพิเศษ ประจำ�ปี 2564
กรณีบริษัทแม่สัญชาติอเมริกันมีเซิร์ฟเวอร์ติดต้งในประเทศแคนาดา เซิร์ฟเวอร์
ั
ดังกล่าวเก็บรักษาข้อมูลผู้ใช้งาน โฆษณา และบริหารจัดการธุรกรรมต่าง ๆ ให้แก่บริษัทแม่สัญชาต ิ
อเมริกัน โดยมีลูกจ้างของบริษัทในเครือสัญชาติแคนาเดียนทําหน้าที่ดูแลรักษาเซิร์ฟเวอร์อยู่ใน
ประเทศแคนาดา ในขณะที่ลูกจ้างของบริษัทแม่สัญชาติอเมริกันควบคุมฐานข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์
ดังกล่าวทางไกลจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่หน่วยจัดเก็บภาษีของของประเทศแคนาดา
พิจารณาแล้วเห็นว่าลําพังการบริหารจัดการฐานข้อมูลจากนอกประเทศแคนาดายังไม่อาจถือ
ได้ว่าบริษัทแม่สัญชาติอเมริกันสามารถใช้งานเซิร์ฟเวอร์น้นได้เสมอตามต้องการ บริษัทดังกล่าว
ั
จึงไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศแคนาดา 28
ื
4. การปรับตัวด้านมาตรการทางภาษีของประเทศต่าง ๆ เพ่อตอบรับต่อการ
ั
เปล่ยนแปลงของการค้าระหว่างประเทศแบบด้งเดิมสู่การค้าแบบกิจการพาณิชย์
ี
อิเล็กทรอนิกส์
แม้ว่า OECD จะยังไม่ได้ขยายความหมายของสถานประกอบการถาวรในต้นแบบ
ี
ึ
อนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD ให้ครอบคลุมไปถึงสถานประกอบการเสมือนท่อาจเกิดข้นใน
ระบบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการประกอบธุรกิจดิจิตอล นอกเหนือไปจากท่ OECD
ี
ยอมรับว่าเซิร์ฟเวอร์อาจก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวรได้ก็ตาม แต่ OECD ก็ได้เสนอหลัก
“การปรากฏตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ (significant economic presence)” ในรายงาน
Addressing the Tax Challenges of the Digital Economy, Action 1 2015 Final Report เพื่อ
เป็นทางเลือกแก่นานาประเทศในการพิจารณาปัญหาการจัดเก็บภาษีในระบบเศรษฐกิจดิจิตอล
กล่าวคือ วิสาหกิจข้ามชาติอาจมีการปรากฏตัวในประเทศคู่ค้า ในรูปแบบของการปรากฏตัว
ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ หากปรากฏเหตุปัจจัยประการหนึ่งหรือหลายประการที่อาจเป็น
หลักฐานยืนยันได้ว่าวิสาหกิจข้ามชาติมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าผ่านเครือข่าย
เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเหตุปัจจัยดังกล่าวประกอบไปด้วย
ประการแรก เหตุปัจจัยด้านรายได้ (revenue-based factor) วิสาหกิจข้ามชาติมีรายได้
ื
จากลูกค้าในประเทศคู่ค้าอันเน่องมาจากการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นจํานวนเกินกว่า
จํานวนขั้นตา (threshold) ที่ประเทศคู่ค้ากําหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์
ํ
่
28 Monica Gianni, “The OECD’s Flawed and Dated Approach to Computer Servers Creating Permanent
Establishments”, Vanderbilt Journal of Entertainment and Technology Law 17, 1:1, p.28.
265