Page 17 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๑-๒๕๖๑-กฎหมายฯ
P. 17

´ØžÒË





              ๒)  การอภิปราย เรื่อง “ศาลยุติธรรมในกระแสการปฏิรูป”


                       นายศุภกิจ แยมประชา ผูพิพากษาศาลชั้นตนประจําสํานักประธานศาลฎีกา

                       ชวงแรก ดร. วีรพงษ รามางกูร ไดบรรยายเนื้อหารวบรวมใหเห็นวาในบริบทที่

              เปลี่ยนแปลงไปศาลยุติธรรมควรจะดําเนินบทบาทไปอยางไร และทานใหคํานิยามคําวา
              การปฏิรูปวาหมายถึงการทําใหดีขึ้นใหสอดคลองกับสถานการณที่เปลี่ยนแปลงไป

              ซึ่งพูดในเชิงมหภาค บทบาทของรัฐที่เปลี่ยนไปในชวงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จากรัฐที่เปน

              ผูปกครองอยางเดียวมาเปนรัฐใหบริการสนับสนุนในแงการคาการลงทุนของประเทศ ซึ่งคําวา
              กระแสเปนไดทั้งแงบวกและลบ ตอนนี้เราอยูในกระแสการปฏิรูปเพราะมีการดําเนินการ

              ในเรื่องแผนยุทธศาสตรชาติ ๒๐ ป มีแผนการปฏิรูปประเทศในดานตางๆ เมื่อวันที่ ๖

              เมษายน ๒๕๖๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใชกับหนวยงานที่เกี่ยวของรวมถึง
              ศาลยุติธรรม ซึ่งแผนการปฏิรูปประเทศดานกระบวนการยุติธรรมจะมีประเด็นที่เกี่ยวของ

              กับศาลยุติธรรมอยูพอสมควร ซึ่งเปนสิ่งที่สะทอนวาจะสรุปวารัฐบาลและสังคมขณะนี้ตองการ
              ใหศาลยุติธรรมดําเนินการปฏิรูปในเรื่องใด


                       ประเด็นปฏิรูปตามแผนการปฏิรูปประเทศในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวของกับ

              ศาลยุติธรรมที่สําคัญมีดังนี้
                       - การกําหนดระยะเวลาดําเนินงานในทุกขั้นตอน การจัดใหมีระบบติดตามผลการ

              ดําเนินงานของคดี สามารถรูวาคดีดําเนินไปถึงขั้นตอนใด ซึ่งจะเกี่ยวของกับทุกหนวยงาน
              ในกระบวนการยุติธรรมจะตองดําเนินการปฏิรูปในเรื่องนี้

                       - การเพิ่มชองทางและโอกาสในการเขาถึงความยุติธรรม มีเขียนไวหลายเรื่อง
              เชน ใหเขาถึงดวยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส ระบบไกลเกลี่ยกอนฟอง คาธรรมเนียม

              (การขอยกเวนคาฤชาธรรมเนียม) การปรับปรุงวิธีพิจารณาความสําหรับคดีเล็กนอย การจัดตั้ง

              ศาลเพิ่มเติม  และการมีสวนรวมของประชาชนในทุกขั้นตอนซึ่งรวมถึงกรณีของศาลดวย
                       - การลดความเหลื่อมลํ้า ไดแก การลดความเหลื่อมลํ้าในเรื่องการขอปลอยชั่วคราว

              โทษปรับ  อุทธรณฎีกา  กฎหมายสารบัญญัติ

                       -  ระบบการกําหนดโทษที่โปรงใส  ไดสัดสวน  และลดการกระทําผิดซํ้าได
                       - การจัดตั้งศาลหรือแผนกคดีชํานัญพิเศษใหมๆ เชน ศาลพาณิชย ศาลสิ่งแวดลอม

              ศาลจราจร



              ๖                                                               เลมที่ ๑ ปที่ ๖๕
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22