Page 77 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๑-๒๕๖๑-กฎหมายฯ
P. 77

´ØžÒË





                       อยางไรก็ดี ในการศึกษาระบบการสอบสวนของประเทศทั้งสี่นั้น คณะผูวิจัยเห็นวา

              มีจุดเดนที่ควรนํามาปรับใชกับระบบการสอบสวนคดีทุจริตและคดีคามนุษย ดังนี้
                       ๑)  กฎหมายฝรั่งเศส และกฎหมายเยอรมัน กฎหมายอังกฤษ มีการประสานงาน
              อยางชัดเจนระหวางองคกรสอบสวนและองคกรที่สั่งฟองคดี และในฝรั่งเศส และเยอรมัน

              มีการดําเนินการสอบสวนเชิงรุก และรวบรวมพยานหลักฐานทั้งที่เปนคุณและเปนโทษแก

              ผูถูกกลาวหา  เพื่อใหศาลใชดุลพินิจไตสวนเพื่อคนหาความจริง
                       ๒)  ในกฎหมายอังกฤษและกฎหมายเยอรมันมีการบูรณาการระหวางหนวยงาน
              ที่เกี่ยวของในคดีทุจริตและคดีคามนุษย

                       ๓)  ในกฎหมายเยอรมัน พนักงานอัยการรวบรวมสํานวนเกี่ยวกับขอมูลของจําเลย

              เพื่อใหศาลกําหนดโทษไดเหมาะสม และไมเรงรัดใหมีการสอบสวนเร็วเพราะตองการใหพนักงาน
              อัยการดําเนินการใหไดขอมูลที่ครบถวนมากที่สุดเพื่อใหศาลไตสวน การฟองรองจึงไมขึ้น
              อยูกับระยะเวลาในการขังผูตองหาในระหวางสอบสวน ในขณะที่การสอบสวนในอังกฤษ

              และญี่ปุนเนนการควบคุมตัวระยะสั้น เพื่อใหพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนําตัว
              ผูตองหามาฟองตอศาลเร็ว ซึ่งระบบดังกลาวทําใหพนักงานสอบสวนจะไมจับตัวผูตองหาจนกวา

              จะมีหลักฐานเพียงพอฟอง  มิฉะนั้นจะฟองไมทันเวลา
                       ๔)  การรวบรวมพยานหลักฐานของฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุน ตองรวบรวม

              พยานหลักฐานใหครบถวนมากที่สุด จึงรวบรวมทั้งที่เปนคุณและเปนโทษแกผูตองหา ซึ่งตางจาก
              ระบบอังกฤษที่เนนพยานที่ปรักปรําผูตองหา แตในการสั่งฟองพนักงานอัยการจะตรวจสอบ

              ถึงพยานที่หนักแนนพอในการฟองคดีและมีประโยชนสาธารณะ


              ๒. ขอเสนอแนะ


                       ๒.๑  การพัฒนาการสอบสวนคดีทุจริต

                       คณะผูวิจัยเสนอการพัฒนาการสอบสวน ๓ ประเด็น คือ

                       ๑)  การสรางความรวดเร็วของการสอบสวนคดีทุจริต


                       คณะผูวิจัยเสนอใหกระจายอํานาจในการไตสวนของ ป.ป.ท. และ ป.ป.ช. ทั้งนี้
              เพราะการใหหนวยงานอิสระหนวยเดียวทําหนาที่สอบสวนจึงเปนเรื่องที่สมเหตุสมผล

              ดังนั้น สําหรับประเทศไทยการรวมศูนยอํานาจการสอบสวนมาอยูที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
              ในสวนกลางในความผิดทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงยอมประสบปญหาความลาชา





              ๖๖                                                              เลมที่ ๑ ปที่ ๖๕
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82