Page 6 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 6

5. แหล่งปลูกพืชไร่ที่ส าคัญของประเทศไทย
                       การปลูกพืชไร่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               ภาคกลาง และภาคเหนือ เป็นแหล่งปลูกที่ส าคัญ เพราะมีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศมีความ
               เหมาะสม ส่วนในภาคใต้แทบจะไม่มีการปลูกพืชไร่เป็นอาชีพหลัก มีการปลูกเพียงเล็กน้อย
                       แหล่งปลูกพืชไร่ที่ส าคัญมีดังนี้
                              1. ภาคกลาง เป็นแหล่งปลูกข้าวโพด ถั่วเขียว ละหุ่ง ถั่วเหลือง

                              2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งปลูกข้าว ข้าวโพด อ้อย มันส าปะหลัง ปอแก้ว ละหุ่ง
               ถั่วเขียว
                              3. ภาคเหนือ เป็นแหล่งปลูกข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ยาสูบ ถั่วเขียว ข้าวโพด
                              4. ภาคใต้ เป็นแหล่งปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง สับปะรด


               6. ระบบการท าไร่ในประเทศไทย
                       ระบบการปลูกพืชไร่ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
                       6.1 ระบบการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว หรือ ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยว เป็นรูปแบบการเกษตรที่สังคม

               เกษตรกรรมของไทยท ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นวิธีการเพาะปลูกที่จัดการง่าย สะดวกสามารถดูแลเป็น
               บริเวณกว้าง อีกทั้งการเกษตรรูปแบบนี้เกษตรกรมักจะใช้สารเคมีเป็นตัวควบคุมการผลิตทั้งเร่งการเจริญเติบโต
               ก าจัดศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตที่ได้ออกมานั้นสวยงามและได้ราคาที่ดี แต่ผลเสียที่ส าคัญของเกษตรเชิงเดี่ยวคือ

               เมื่อปลูกพืชชนิดเดียวกันไปเรื่อย ๆ ผลผลิตที่ได้ออกมานั้นล้นตลาด ส่งผลให้ราคาตกต่ า เกษตรกรบางรายต้อง
               ยอมขายในราคาที่ขาดทุนเนื่องจากหากเก็บไว้นานผลผลิตจะเน่าและเสียหาย อีกทั้งการท าเกษตรเชิงเดี่ยวยัง
               ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเสื่อมโทรมลง เช่น พืช สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ
                       6.2 ระบบไร่นาสวนผสม เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนอง
               ต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยไม่ได้มีการจัดการให้กิจกรรม

               การผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และค านึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตร
               ผสมผสาน การท าไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจากกิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ
               “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้

               ความสามารถของเกษตรกรผู้ด าเนินการให้เป็นการด าเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้
























               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                    หน้า 3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11