Page 11 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 11

2.3 การพยุงราคา เป็นการใช้วิธีการต่าง ๆ ระดับราคาผลผลิตสูงขึ้นรับซื้อผลผลิตและขยาย
               ตลาดให้มีจ านวนมากขึ้นในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อห้องขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น

               หรือการที่รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรลดพื้นที่หรือปริมาณการผลิตลดลง
                       3. การก าหนดราคาโดยผู้ผลิต และการก าหนดราคาของผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ๆ
               ที่ผลิตสินค้าจ านวนมากมีอ านาจต่อรอง เป็นเกษตรกรที่ท าการตลาดเอง ซึ่งการก าหนดราคาจะพิจารณาจาก
                              3.1 ความต้องการของตลาด ตลาดมีความต้องการสินค้ามากน้อยเพียงใด ผู้บริโภคมีความพึง

                                พอใจในสินค้ามากน้อยแค่ไหน รวมถึงต้องพิจารณาถึงต้นทุนของผู้บริโภคด้วย
                              3.2 ต้นทุนต้องพิจารณาถึงต้นทุนการผลิต ต้นทุนการตลาด ต้นทุนการบริหารจัดการ เป็นต้น
                              3.3 การแข่งขันในตลาด การก าหนดราคาต้องพิจารณาถึงผู้แข่งขันในตลาดด้วย โดยต้อง
                                ติดตามการก าหนดราคาของคู่แข่งขัน

                       จะเห็นได้ว่าการก าหนดราคาขั้นต่ า แนวทางจะถูกก าหนดขึ้นโดยลักษณะของตลาด สถานการณ์ทาง
               การตลาด และความสามารถของผู้ผลิตด้วย การก าหนดราคาที่ผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมได้คือ การก าหนดราคา
               โดยตลาด และการก าหนดราคาโดยรัฐบาล โดยเฉพาะราคา ข้าว มันส าปะหลัง ตามตลาดในช่วงตกต่ า
               เกษตรกรต้องมีความเป็นเอกลักษณ์สร้างความแตกต่างสินค้าในตลาด จะท าให้ราคาสินค้าสูงขึ้นได้ นอกจากนี้

               เกษตรกรควรมีการติดตามข้อมูลข่าวสารการผลิตอย่างสม่ าเสมอ หรือต่อเนื่องเพื่อรับรู้ถึงนโยบายของรัฐบาล
               ราคาที่รัฐบาลก าหนด รวมถึงแนวโน้มของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะท าให้เกษตรกรสามารถวาง
               แผนการผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งจะสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่เป็นธรรม

                       4.2 ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าพืชไร่
                       จากลักษณะของสินค้าพืชไร่ที่มักออกเป็นฤดูกาล และการก าหนดราคาขึ้นอยู่กับสภาวะของตลาดและ
               นโยบายของรัฐบาล ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้ ท าให้ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ แตกต่างไป
               จากสินค้าชนิดอื่น ซึ่งลักษณะความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าพืชไร่ จ าแนกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้
                              1) ความเคลื่อนไหวของราคาตามฤดูกาล เป็นความเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นในเดือน

                       ต่าง ๆ ในรอบปีราคาสินค้าจะสูงหรือต่ าขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
                              2)  ความเคลื่อนไหวตามวัฏจักร เป็นความเคลื่อนไหวของราคาที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วง
                       ๆ แต่ละช่วงใช้เวลา 1 ปีหรือมากกว่าช่วงหนึ่งของราคาจะสูงและอีกช่วงหนึ่งจะต่ าแล้วไปใหม่สลับกัน

                       ไปเรื่อย ๆ
                              3) ความเคลื่อนไหวตามแนวโน้ม แนวโน้มความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง
                       เป็นรายปี
                              4) ความเคลื่อนไหวของราคาการผิดปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ไม่ได้

                       ก าหนดไว้ล่วงหน้าได้ เช่น เกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ น้ าท่วม ฝนแล้ง ท าให้ผลผลิตหาย ขาดแคลน
                       สินค้า ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

               5. วิถีการตลาดพืชไร่

                       วิถีการตลาดพืชไร่ หมายถึง เส้นทางการเคลื่อนย้ายผลผลิตพืชไร่จากแหล่งผลิตโดยผ่านพ่อค้าคน
               กลางในตลาดระดับต่าง ๆ ไปจนถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย วิถีการตลาดของพืชไร่แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป
               บางชนิดอาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน บางชนิดเป็นแบบง่าย ๆ ขึ้นอยู่กับว่ามีพ่อค้าคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง
               ด้วยน้อยเพียงใด







               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                    หน้า 8
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16