Page 14 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 14
บทที่ 3
การจ าแนกประเภทพืชไร่
1. การจ าแนกพืชไร่ตามลักษณะของการใช้พื้นที่
1.1 ประเภทปลูกในพื้นที่ดอน
เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูงหรือพื้นที่ลาดชัน หน้าดินแห้ง และมีความชื้นน้อย มัก
เป็นพืชที่ต้องการน้ าน้อย ไม่ชอบน้ าท่วมขัง อาศัยเพียงน้ าฝนตามฤดูกาลก็สามารถให้ผลผลิตได้ ส่วนมากเป็น
พืชที่เก็บผลผลิตในปีเดียว มักปลูกในต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูหนาว ส่วนมากเป็นพืชตระกูลหญ้า
ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี งา เป็นต้น
1.2 ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่ม
เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบทั่วไป หน้าดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ มักเป็นพืชที่ต้องการ
น้ าปานกลาง และต้องการความชุ่มชื้นตลอดการเติบโต จ าเป็นต้องอาศัยระบบน้ าจากแหล่งอื่นช่วยเสริม
นอกเหนือจากน้ าฝนตามฤดูกาล มักปลูกตลอดทั้งปี แต่จะเติบโต และให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในต้นฤดูฝน พืชกลุ่ม
นี้ส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น และมีพืชตระกูลหญ้าบ้าง ได้แก่
ข้าวโพด เป็นต้น
1.3 ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่มน้ าท่วมขัง
เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่น้ าท่วมขัง เป็นพืชที่ต้องการน้ ามาก อาศัยน้ าจากน้ าฝน และน้ า
จากระบบชลประทาน มักปลูกตลอดทั้งปีตามชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม พืชในกลุ่มนี้มีเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ ข้าว
หอมมะลิ ข้าวเหนียว เป็นต้น
2. การจ าแนกพืชไร่ตามหลักพฤกษศาสตร์
เป็นการจ าแนกที่มีหลักการชัดเจน โดยอาศัยความแตกต่างหรือความคล้ายคลึงของพืชทั้งลักษณะ
ภายในและภายนอกที่สามารถสังเกตได้ เป็นตัวก าหนดในการแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ โดยจัดล าดับจาก
หมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุดคือ อาณาจักรสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักเดียวกันจะมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน
อาณาจักรหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกได้หลายดิวิชั่น และแบ่งย่อยไปเรื่อย ๆ จนถึงหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ชนิดหรือ
สปีชีส์ ดังนี้
อาณาจักร Kingdom
กลุ่ม Division
ชั้น Class
ชั้นย่อย Sub Class
อันดับ Order
วงศ์ Family
สกุล Genus
ชนิด Species
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202 หน้า 11