Page 19 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 19
ยาสูบ ข้าวโอ๊ต หญ้าซูดาน เป็นต้น และมีหลายชนิดที่สามารถขึ้นได้ในดินด่าง เช่น ซูการ์บีท ฝ้ายและหญ้า
หลายชนิด เป็นต้น
5. ความเค็มของดิน คือ ดินที่มีสารละลายของเกลืออยู่มาก โดยเฉพาะโซเดียม ซึ่งจะ
สังเกตเห็นได้จากมีคราบสีขาวของเกลือบนผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งจะเห็นเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีพืช
อื่นขึ้นได้ ดินเค็มจะส่งผลให้พืชดึงน้ าจากดินมาใช้ได้ยาก ท าให้เกิดสภาวะขาดน้ า นอกจากนี้ดินเค็มยังท าให้
เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ส่งผลให้เกิดการสะสมของธาตุที่เป็นพิษต่อพืช วิธีแก้ไขดินเค็มคือ อย่าท าให้
หน้าดินแห้งเพราะจะท าให้น้ าใต้ดินน าเกลือขึ้นมาสะสมบนเนื้อดิน ถ้าดินยังมีความเค็มอยู่อาจจะเลือกปลูกพืช
ไร่ที่ทนเค็ม เช่น ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการเจริญเติบโตของพืชไร่และดีหรือไม่ขึ้นกับคุณภาพของดิน ซึ่งดูได้จากคุณสมบัติทาง
กายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของดิน โดยทั่วไปดินที่มีการระบายน้ าดี มีการถ่ายเทอากาศดีซึ่งจัดเป็นดินร่วน
หรือดินร่วนปนทราย เป็นดินที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืชไร่ขณะเดียวกันดินต้องไม่เป็นกรดหรือด่าง
จนเกินไป มีอินทรียวัตถุสูง และมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามพื้นไร่แต่ละชนิดมี
ปัจจัยทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ท าให้ความเหมาะสมในดินที่ปลูกแตกต่างกันแล้วแต่ละชนิดของพืชไร่
2. น้ า (Water)
การปลูกพืชไร่ถ้าจะให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งปริมาณและคุณภาพพืชต้องได้รับน้ าอย่างสม่ าเสมอและ
เพียงพอตลอดฤดูปลูก เพราะน้ าเป็นปัจจัยที่มีความส าคัญดังนี้
2.1 คามส าคัญของน้ า
2.1.1 เป็นวัตถุดิบที่จ าเป็นในกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างอาหาร
ของพืช
2.1.2 ท าให้เซลล์เต่ง ช่วยรักษาสภาพ รูปทรงของเซลล์
2.1.3 ช่วยในการละลายแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ท าให้สารละลายเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ
ของพืชได้
2.1.4 ช่วยควบคุมอุณหภูมิในต้นพืชและอุณหภูมิของอากาศที่อยู่ภายนอกพืช
2.1.5 ช่วยในการงอกของเมล็ด
2.1.6 ควบคุม ชักน าการออกดอกของพืช
2.2 คุณสมบัติของน้ าที่เหมาะสมส าหรับการเพาะปลูกพืชไร่
2.2.1 สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลเจือปน เพราะจะท าให้ท่าน้ าหรือหัวฉีดอุดตันได้
2.2.2 ไม่มีเกลือแร่หรือสารเคมีที่เป็นพิษ
2.2.3 ไม่เป็นน้ าเน่าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
2.2.4 ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อพืช
2.2.5 มีค่าความเป็นกลางคือ มีค่าความเป็นกรด เป็นด่าง 6 - 7
จะเห็นได้ว่าน้ ามีความส าคัญเป็นอย่างมากจ่อการเจริญเติบโตของพืชไร่ ดังนั้นในการปลูกพืชไร่ต้องหา
แหล่งน้ าที่จ าเป็นต่อการเพาะปลูกพืชไร่
2.3 แหล่งน้ าเพื่อการเพาะปลูก แหล่งน้ าที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งออกเป็น 2 แหล่งใหญ่ ๆ ดังนี้
2.3.1 แหล่งน้ าธรรมชาติ แหล่งก าเนิดที่ส าคัญตามธรรมชาติ คือ น้ าฝน ซึ่งพืชจะน าไปใช้ใน
การเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพืชไร่ที่ปลูกในพื้นที่ดอน น้ าฝนที่ใช้ไม่หมดจะไหลซึมลงสู่ดิน แม่น้ า
ล าธาร ซึ่งสามารถน าไปใช้ในการเพาะปลูกพืชไร่ในที่ราบลุ่มได้อีกต่อหนึ่ง บางครั้งเรียกน้ าแบบนี้ว่า น้ าผิวดิน
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202 หน้า 16