Page 18 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 18

ดินทั่วทั่วไปส่วนมากจะมีคุณสมบัติเพียงข้อเดียวหรือมากกว่านั้น ซึ่งในการปลูกพืชไร่จ าเป็นต้อง
               เปลี่ยนแปลงสภาพ และสร้างคุณสมบัติของดินการที่พืชไร่ต้องการ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการ

               เจริญเติบโตของพืช
                       1.3 คุณสมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชไร่
                       ดินแต่ละพื้นที่มีส่วนประกอบไม่เหมือนกัน ท าให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่าง
               กัน ก่อนการปลูกพืชไร่ควรมีการศึกษาคุณสมบัติของดิน เพื่อจะได้วิเคราะห์ตรวจสอบดินและปรับปรุงดินให้

               เหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่ คุณสมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชไร่ มีดังนี้
                              1.3.1 คุณสมบัติทางกายภาพของดิน หมายถึง คุณสมบัติที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือ
               จับต้องสัมผัสได้ เช่น ความหยาบ ความละเอียด และสี เป็นต้น คุณสมบัติทางกายภาพที่มีความส าคัญต่อการ
               ปลูกพืชไร่ เช่น เนื้อดิน

                              เนื้อดิน หมายถึง ความหยาบ ความละเอียดของเนื้อดิน ประกอบด้วยอนุภาคดิน 3 ชนิด
               ได้แก่ อนุภาคทราย (sand) อนุภาคซิลท์ (silt) และอนุภาคดินเหนียว (clay) ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เป็น
               คุณสมบัติที่มีผลต่อการปลูกพืชไร่อย่างมาก เพราะพืชไร่แต่ละชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเนื้อที่แตกต่างกัน
               เนื้อดินแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

                              1. เนื้อดินหยาบหรือดินทราย ดินกลุ่มนี้มีอนุภาคดินขนาดใหญ่ มีความโปร่งและช่องว่างใน
               เนื้อดินมาก มีการถ่ายเทอากาศดี ระบายน้ าดี เกือบจะไม่คุ้มน้ าเลย มีแร่ธาตุอาหารส าหรับพืชน้อย (ปฐพีชล
               วาย  ุอัคคี, ม.ป.ป.) ส่วนมากเป็นดินที่ไถพรวนง่ายเหมาะส าหรับการปลูกพืชไร่ เช่น มันส าปะหลัง

                              2. เนื้อดินละเอียดหรือดินเหนียว มีอนุภาคดินขนาดเล็กมากสามารถอุ้มน้ าและแร่ธาตุอาหาร
               พืชไว้ได้มาก แต่การระบายน้ าและการถ่ายเทอากาศไม่ดี เมื่อดินเปียกชื้นจะเหนียว เมื่อแห้งจะแข็งมากท าให้
               ยากต่อการไถพรวน เหมาะส าหรับการปลูกพืชไร่ที่ต้องการน้ าขัง เช่น ข้าว
                              3. เนื้อดินปานกลางหรือดินร่วน กลุ่มนี้มีอนุภาคดินเนื้อหยาบและดินเนื้อละเอียดผสมอยู่ใน
               อัตราเท่า ๆ กัน ท าให้เป็นเนื้อดินปานกลาง มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ าได้ดี สามารถอุ้มน้ าได้พอสมควร

               การไถพรวนท าได้ง่าย สะดวก เป็นเนื้อดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่มากที่สุด
                              1.3.2 คุณสมบัติทางเคมีของดิน เป็นคุณสมบัติทางเคมีที่ใช้คาดคะเนความอุดมสมบูรณ์ของ
               ดิน ซึ่งทราบได้จากผลการวิเคราะห์ทางเคมีที่ส าคัญ ๆ ค่าคุณสมบัติทางเคมีของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช

               ไร่ ได้แก่
                              1. ค่าความจุในการแลกประจุบวก   (cation exchange capacity : CEC)  ในดินมีค่าสูง
               แสดงว่าในดินมีธาตุอาหารที่พืชจะน าไปใช้ประโยชน์ได้มาก แต่ถ้าในดินมีค่า CEC สูงมากเกินไปจะท าให้การ
               ระบายน้ าและอากาศไม่ดี

                              2. ค่าปริมาณอินทรีย์วัตถุควรมีค่ามากกว่าร้อยละ 2
                              3. ค่าของปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ควรมีค่าสูง
                              4. ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) เป็นคุณสมบัติทางเคมีที่มีผลโดยตรงต่อการ
               เจริญเติบโตของพืช แต่จะมีผลทางอ้อมคือ เป็นตัวควบคุมการละลายของธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถ

               น าไปใช้ได้ พืชไร่แต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความเป็นกรดเป็นด่างไม่เท่ากัน ถ้าดินเป็นกรดมากจะ
               ท าให้เกิดความเป็นพิษของธาตุเหล็กและอะลูมินัม ท าให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ควรมีการแก้ความเป็นกรด
               โดยการใส่ปูนขาว หินปูน หรือปูนมาร์ล ลดความเป็นพิษของธาตุเหล็กและอะลูมินัม (อ านาจ สุวรรณฤทธิ์,
               2548)  พร้อมทั้งยังเป็นการเพิ่มธาตุฟอสฟอรัสในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชด้วย โดยทั่วไปพืชไร่กับเจริญเติบโต

               ได้ดีในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง 5 - 7 แต่มีพืชไร่บางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่เป็นกรด เช่น




               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 15
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23