Page 16 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 16

3.8 พืชประเภทกระตุ้นประสาท หมายถึง พืชที่ช่วยกระตุ้นประสาท หากใช้มาก ๆ หรือใช้นาน ๆ ก็

               จะท าให้ติดได้ เช่น ยาสูบ ชา กาแฟ เป็นต้น
                       3.9 พืชให้น้ ามัน หมายถึง พืชที่ให้ผลิตผลที่สามารถน ามาแปรรูปเป็นน้ ามันใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่น
               ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง งา ฝ้าย ข้าวโพด ทานตะวัน ปาล์มน้ ามัน เป็นต้น

                       3.10 พืชให้น้ ายาง หมายถึงพืชพวกที่ให้น้ ายาง เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ยางพารา ยางสน
               เป็นต้น


               4. การจ าแนกพืชไร่ตามชีพจักร
                       เป็นการจ าแนกพืชตามอายุ นับตั้งแต่งอกออกจากเมล็ดจนกระทั้งตาย แบ่งออกได้ดังนี้

                       4.1 พืชล้มลุกหรือพืชฤดูเดียว เป็นพืชอายุสั้น จะออกดอกให้เมล็ดและตายภายในเวลา 1 ปี ธัญพืช
               ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง

                       4.2 พืชคาบปี เป็นพืชที่มีอายุ 2 ฤดู หรือ 2 ปี  โดยในปีแรกจะมีการเจริญเฉพาะทางด้านล าต้น กิ่ง
               และใบ มีการสะสมอาหารไว้ แต่จะไม่ออกดอก และในฤดูถัดมาของปีที่ 2 จึงออกดอกให้เมล็ดและตาย เช่น
               บีทน้ าตาล

                       4. 3 พืชยืนต้น เป็นพืชที่มีอายุยาวมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อาจจะออกดอกมีผลให้เมล็ดทุกปี หรืออาจมีปี
               เว้นปีก็ได้ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ ามัน เป็นต้น


               5. การจ าแนกตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง
                       เป็นการจ าแนกโดยจุดมุ่งหมายของผู้ปลูกเป็นหลัก ซึ่งสามารถจ าแนกได้ดังนี้

                       5.1 พืชคลุมดิน จะปลูกโดยการหว่านเมล็ดให้คลุมดิน ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน รักษาความ
               ชุ่มชื้นในดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว

                       5.2 พืชปุ๋ยสด เป็นพืชที่ปลูกแล้วไถกลบลงไปในดิน ในขณะที่ยังสดอยู่เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน
               นิยมไถกลบในระยะที่พืชออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่พืชมีธาตุอาหารสูงสุด เช่น ถั่วต่าง ๆ ปอเทือง เป็นต้น
                       5.3 พืชหลัก ได้แก่ พืชที่ปลูกเพื่อเป็นรายได้หลักให้กับฟาร์ม เช่น ข้าว อ้อย เป็นต้น

                       5.4 พืชแซม เป็นพืชที่ใช้ปลูกแซมกับพืชหลัก นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้แล้ว พืชแซมอาจจะปลูก
               เพื่อคลุมดินระหว่างแถวของพืชหลักด้วย นิยมใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม เช่น ปลูกถั่วเขียวแซมกับข้าวโพด

                       5.5 พืชชดเชย หมายถึง พืชที่ปลุกชดเชยได้เมื่อปลูกพืชหลักไม่ทันหรือพืชหลักเกิดความเสียหาย พืช
               ชดเชยมักเป็นพืชอายุสั้น ๆ มีการเจริญเติบโตเร็ว มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง


               6. การจ าแนกตามความต้องการน้ า
                       6.1 พืชไร่ที่ต้องการน้ ามาก เช่น ข้าว

                       6.2 พืชไร่ที่ต้องการน้ าน้อย เช่น อ้อย มันส าปะหลัง










               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 13
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21