Page 9 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 9

6. คุณภาพไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอด แม้ว่าจะผลิตจากผู้ผลิตรายเดียวกันก็
               ตาม รวมถึงการผลิตโดยใช้พันธุ์ วิธีการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และท้องที่ ท าให้การผลิตแตกต่างกัน

               คุณภาพผลผลิตก็จะแตกต่างกันด้วย
                              7. มีความเหมาะสมในการผลิต ในแต่ละท้องที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศนั้น
               นั้น ส่งผลต่อผลผลิตทั้งในเรื่องของความแตกต่างของปริมาณและคุณภาพ
                              8. สินค้าพืชไร่มักมีผู้ผลิตสินค้าจ านวนมากมาย กระจัดกระจาย ไม่มีมาตรฐานสินค้า ที่

               แน่นอน ท าให้ผลผลิตไม่สามารถก าหนดราคาสินค้าได้
                              9. สินค้าพืชไร่มักจะไม่มีความเป็นมาตรฐาน มีความแตกต่างกันทั้งในรูปร่าง คุณภาพท าให้
               ควบคุมการผลิตค่อนข้างล าบาก
                       3.2 แหล่งตลาดพืชไร่และคนกลางทางการตลาด

                       ด้วยลักษณะของสินค้าพืชไร่ที่มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ เสื่อมคุณภาพเร็ว กินเนื้อที่มาก การน าไปใช้
               ประโยชน์ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปก่อน ดังนั้นเกษตรกรต้องรีบจ าหน่ายผลผลิตทันที เพื่อให้ผู้บริโภคหรือ
               โรงงานน าไปแปรรูปหรือน าไปใช้ประโยชน์ต่อไป จึงท าให้เกิดแหล่งตลาดพืชไร่ในการรวบรวมผลผลิตในระดับ
               ต่าง ๆ ดังนี้

                              1. ตลาดท้องที่หรือตลาดในระดับไร่นา เป็นตลาดที่อยู่ใกล้กับแหล่งผลิตมากที่สุดส่วนใหญ่
               มักเป็นแหล่งจ าหน่ายผลผลิตของเกษตรกรรายย่อยที่มีอยู่จ านวนมาก อยู่อย่างกระจัดกระจาย ตลาดนี้อาจจะ
               อยู่ตามหมู่บ้านหรือต าบล ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาด้านการขนส่งเพราะอยู่ห่างไกลชุมชนและการคมนาคมไม่

               สะดวก ท าให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง เป็นผลให้ราคาในตลาดท้องที่ต่ ากว่าราคาในตลาดระบบอื่นมาก พ่อค้า
               คนกลางที่ท าการค้าขายอยู่ในตลาดระดับนี้ คือ พ่อค้าเร่หรือพ่อค้าจร พ่อค้ารวบรวม ตัวแทน เป็นต้น
                              2. ตลาดระดับท้องถิ่น เป็นตลาดที่รวบรวมผลผลิตที่มีปริมาณมากขึ้น โดยรวบรวมจาก
               เกษตรกรรายใหญ่ที่มีผลผลิตจ านวนมาก และเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านตลาดระดับท้องที่มาแล้ว ส่วนใหญ่ตลาด
               ท้องถิ่นจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี การคมนาคมขนส่งค่อนข้าง สะดวก มีความพร้อมในสิ่ง

               อ านวยความสะดวก มีระบบการสื่อสารที่ดี และมีข่าวสารการตลาดที่ทันต่อเหตุการณ์
                              3. ตลอดปลายทาง ตลาดระดับนี้เป็นตัวสุดท้ายในการรวบรวมสินค้า ตลาดระดับนี้จะมีการ
               เก็บรักษา มีการจัดคุณภาพตามมาตรฐานที่รัฐจัดตั้งขึ้น หรือเป็นที่ยอมรับในวงการค้าซื้อขายในตลาดระดับนี้

               จะด าเนินไปเพื่อน าไปสู่ผู้บริโภคหรือโรงงานแปรรูปทั้งในและต่างประเทศ ลักษณะของตลาดปลายทางนี้จะ
               ตั้งอยู่ ณ จุดที่มีความสะดวกในด้านการคมนาคม และการติดต่อ พ่อค้าคนกลางทางการตลาด ได้แก่ นายหน้า
               พ่อค้าส่ง พ่อค้าส่งออก พ่อค้าแปรรูป ผู้เก็งก าไร โรงงานแปรรูปและสถาบันหรือองค์การของรัฐบาล เป็นต้น
                       3.3 คนกลางทางการตลาด

                       คนกลางทางการตลาดหรือพ่อค้าคนกลาง เป็นคนที่อยู่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ
               พ่อค้าที่อยู่ระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค พ่อค้าคนกลางในตลาดพืชไร่มีลักษณะเหมือนกับพ่อค้าคนกลางใน
               ตลาดสินค้าเกษตรอื่น ประกอบด้วย พ่อค้าขายส่ง ขายปลีก ตัวแทน นายหน้า ผู้แปรรูป และโรงงาน
               อุตสาหกรรม เป็นต้น พ่อค้าคนกลางเหล่านี้จะอยู่ทั่วไปตามตลาดในระดับต่าง ๆ พ่อค้าคนกลางมักจะถูกมอง

               ว่าเป็นบุคคลที่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร มักจะซื้อสินค้าจากเกษตรกรในราคาที่ต่ า และน าไปจ าหน่ายให้
               ผู้บริโภคในราคาที่สูงขึ้น  มุ่งหวังก าไรเพียงอย่างเดียวแต่ในทางกลับกันการที่พ่อค้าคนกลางจะน าสินค้าจาก
               ผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคได้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการตลาด มีการลงทุน ลงแรง ดังนั้นพ่อค้าคนกลางจึงโดนเอารัดเอา
               เปรียบอย่างที่เข้าใจ เพียงแต่เกษตรกรจะขายสินค้าให้กับพ่อค้าคนกลางได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความมี

               คุณธรรมของพ่อค้าคนกลาง ในการก าหนดราคา และแข่งขันระหว่างพ่อค้าด้วยกันเอง หรือการรวมกลุ่มของ




               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                    หน้า 6
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14