Page 7 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 7
บทที่ 2
การตลาดที่เกี่ยวข้องกับพืชไร่
1. ความหมายของตลาดและการตลาดพืชไร่
ตลาด หมายถึง การตกลงซื้อขายสินค้าหรือบริการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย การทั้งนี้
ในลักษณะพบหน้าโดยตรงหรือไม่เคยพบหน้ากันโดยตรง จะมีสถานที่หรือไม่มีสถานที่ก็ได้ เช่น การซื้อขายกัน
ทางอินเตอร์เน็ต หรือการติดต่อซื้อขายทางโทรศัพท์ โดยการซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความพึงพอใจ
ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้นตลาดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ส าคัญ 4 อย่างคือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า
และเงื่อนไขทางการตลาด
ส่วนค าว่า การตลาด หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ
จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย ในเวลา สถานที่ และรูปลักษณะที่ผู้บริโภคต้องการและในระดับราคาที่
ผู้บริโภคพอใจ จะเห็นได้ว่า การตลาดจะค านึงถึงผู้บริโภคเป็นส าคัญ เพราะผู้บริโภคเป็นผู้มีรายได้ที่จะมาซื้อ
สินค้า ดังนั้นผู้ผลิตจ าเป็นต้องผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นเราจึงจ าเป็นที่จะต้อง
ด าเนินการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ โดยมีผู้ที่ท าหน้าที่ทางการตลาด ซึ่งประกอบด้วย
เกษตรกรผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง ผู้แปรรูป เป็นต้น ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถท าหน้าที่ทางการตลาดได้ครบ
วงจรจะเป็นเรื่องที่ดี รวมทั้งจะมีรายได้จากการผลิตเพิ่มขึ้น
เกษตรกร กิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาด ผู้บริโภค
ภาพที่ 8.1 แผนผังการตลาด
ดังนั้น การตลาดพืชไร่ หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายผลผลิตจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย
ซึ่งกิจกรรมที่จ าเป็นในกระบวนการผลิตหรือกระบวนการเคลื่อนย้ายผลผลิตพืชไร่ ได้แก่ การซื้อ การขาย การ
รวบรวมผลผลิต การก าหนดราคา การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การโฆษณา การจัดจ าหน่าย เป็นต้น
2. ความส าคัญและหน้าที่ของการตลาดพืชไร่
2.1 ความส าคัญของการตลาดพืชไร่
การตลาดพืชไร่ช่วยตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของผู้บริโภค ท าให้ระบบเศรษฐกิจด าเนิน
ไปด้วยดีตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ก่อให้เกิดประโยชน์งอกเงย จึงถือได้ว่าการตลาดสร้าง
อรรถประโยชน์ให้อยู่ในรูปร่างที่บริโภคได้ น าไปสถานที่ที่ต้องการ สามารถซื้อหาได้ในเวลาที่ต้องการ ถ้าไม่มี
ตลาด อรรถประโยชน์ก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการตลาดพืชไร่มีความส าคัญก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ดังนี้
1) อรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าจากรูปหนึ่งเป็นอีก
รูปหนึ่งอาจจะมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบรรจุหีบห่อได้
2) อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ เป็นการสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคในการบริโภคสินค้าในแหล่งที่ไม่สามารถผลิตได้
3) อรรถประโยชน์ด้านเวลา เป็นความพึงพอใจที่บริโภคได้รับสินค้าพืชไร่ในเวลาหรือตาม
เวลาที่ก าหนด
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202 หน้า 4