Page 16 - PowerPoint Presentation
P. 16

13



             การควบคุมนํ้าตาลโดยการเลือกอาหารที่มีค่าดัชนีนํ้าตาล(Glycemic index: GI) ตํ่า : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง


             จากเบาหวานควรควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดโดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีนํ้าตาล (GI) ตํ่าหรือ


             น้อยกว่า 55 เพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ค่าดัชนีนํ้าตาล (GI) เป็นค่าที่ใช้บอกระดับการดูดซึมสารอาหาร


             คาร์โบไฮเดรตเพื่อเปลี่ยนไปเป็นนํ้าตาลในกระแสเลือดภายใน 1 - 2 ชั่วโมงหลังอาหาร ดังนั้นอาหารที่มีค่า GI

             ต่างกันจะสามารถ เพิ่มระดับนํ้าตาลในเลือดหลังจากรับประทานอาหารได้แตกต่างกัน อาหารที่มี (GI) สูงจะ


             ถูกดูดซึมได้เร็วกว่า และเป็นเหตุให้ระดับนํ้าตาลในเลือดขึ้นสูงกว่าอาหารที่มี GI ตํ่าเกณฑ์ในการระบุค่า GI ที่


             นิยมใช้ ได้แก่ ค่า GI < 55 = ตํ่า ค่า GI 56-69 = ระดับกลาง ค่า GI 70-100 = GI ตัวอย่างอาหารที่

             มีค่า GI ตํ่า อาทิ ผัก ผลไม้ที่มีรสหวานน้อย  ธัญพืชต่างๆ ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น อาหารประเภท


             คาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเป็นหมู่แป้งปลอดโปรตีนซึ่งเป็นหมู่ข้าวและแป้งที่มีโปรตีน


             ตํ่าได้แก่ วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ ซาหริ่ม สาคู ซึ่งสามารถจะเพิ่มเติมได้จากการที่ต้องควบคุมปริมาณ


             คาร์โบไฮเดรตจากอาหารประเภทข้าว (รสสุคนธ์, 2557)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21