Page 21 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 3
P. 21
ผลที่ได้จากการตรวจหาค่าครีเอตินินนั้นจะใช้ในการประเมินค่าการท�างานของไตหรือ GFR (glomerular fiffiiltration rate)
ค่าการท�างานของไตนี้จะบอกว่าไตท�างานได้มากน้อยเพียงใด ค่าการท�างานของไตที่ต�่าอาจหมายถึงไตไม่สามารถ
ท�างานได้ตามปกติ หรือเสียหน้าที่ในการก�าจัดของเสียออกจากร่างกาย ระยะของโรคไตเรื้อรัง ดังตาราง
ระยะของโรค รายละเอียดของระยะต่างๆ ค่าการท�างานของไต (GFR)*
ระยะที่ 1 ไตเริ่มเสื่อม (มีโปรตีนในปัสสาวะ) 90 หรือมากกว่า
ค่า GFR ปกติ
ระยะที่ 2 ไตเสื่อม ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย 60-89
ระยะที่ 3 ค่า GFR ลดลงปานกลาง 30-59
ระยะที่ 4 ค่า GFR ลดลงมาก 15-29
ระยะที่ 5 ไตวาย น้อยกว่า 15
* หน่วยค่าการท�างานของไต (GFR) มล./นาที/1.73 ตรม.
อาการของโรคไตเป็นอย่างไร
ระยะแรกมักไม่มีอาการเด่นชัด แต่เมื่อการท�างานของไตเสียไป
ประมาณ 70% จะเริ่มมีอาการ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซีด
เหนื่อยง่าย คันตามตัว บวมปลายมือ ข้อเท้า และรอบๆตา ระยะ
สุดท้ายอาจซึมชักหมดสติได้
ไตวายเฉียบพลัน กับไตวายเรื้อรังต่างกันอย่างไร
ไตวายเฉียบพลันเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน แต่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ต่างจาก
ไตวายเรื้อรัง ที่กว่าจะมีอาการก็เป็นเวลานานรักษาไม่หาย ท�าได้แค่รักษาตามอาการและควบคุมปริมาณอาหาร
หรือยาที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น
จะชะลอการเสื่อมของไตด้วยวิธีใด
1. ดื่มน�้าให้เพียงพอเพื่อรักษาปริมาตรการขับถ่ายปัสสาวะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (สามารถช่วยป้องกัน
นิ่วในไตและการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้)
2. ระมัดระวังเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
3. ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือและเนื้อสัตว์เกินขนาด
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะโดยไม่จ�าเป็น
5. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคอาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยระดับน�้าตาล
ในเลือดและความดันโลหิตควรได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม
วารสารสุขภาพ 21
ส�านักอนามัย