Page 61 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 61

54



                  ภาคเอกชนหนุนชวยใหกระบวนการเรียนรูบังเกิดผล ขณะที่ผลกําไรจากการประกอบการซึ่งเปนเรื่อง

                  รองลงมา แตก็มีความสําคัญเพราะเปนตัวขับเคลื่อนใหกลุมอยูรอด และที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ การมี

                  จิตสาธารณะแยกแยะ ประโยชนสวนตนและประโยชนสวนรวมของผูนํา ทั้งนี้  ปจจัยตางๆ เหลานี้แมวา

                  ไมอาจเปนสูตรสําเร็จ แตอยางนอยที่สุดบทเรียนจากไมเรียงก็สามารถเปนแนวทาง ในการสนับสนุน

                  ธุรกิจชุมชนในพื้นที่อื่นๆ ตอไป (สถาบันชุมชนทองถิ่นพัฒนา (สทพ.)  http://www.ldinet.org/2008/)



                  เรื่องที่ 2  การสรางเครือขายการประกอบอาชีพและการดําเนินชีวิต  ตามหลักปรัชญาของ

                                 เศรษฐกิจพอเพียง

                          เครือขาย (Network) เปนรูปแบบทางสังคมที่เปดโอกาสใหเกิดปฏิสัมพันธระหวางองคการเพื่อ

                  การแลกเปลี่ยน การสรางความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน และการรวมกันทํางานโดยมีฐานะเทาเทียมกันการ
                  สรางเครือขายการทํางานเปนวิธีการทํางานที่ไดรับความนิยมทั้งในภาคธุรกิจและในการทํางานเชิงพัฒนา

                  สังคม นอกเหนือจากคําวา "เครือขาย" หรือ "Network" ในทางดานธุรกิจ เราจะไดยินคําเรียกชื่อตาง ๆ ที่มี
                  ความหมายใกลเคียง เชน คําวา แนวรวมในเชิงกลยุทธ หรือ Strategic Alliance หุนสวนในการทํางาน

                   หรือ Partner เปนตน  ลักษณะของเครือขาย  โดยทั่วไปมีลักษณะ ดังนี้

                          เครือขายมีลักษณะเปนโครงสรางทางความคิด (Cognitive structures) ไมวาจะพัฒนาไปถึง
                  ระดับใด บุคคลที่เกี่ยวของในองคกรเครือขายจะมีกรอบความคิดเกี่ยวกับองคกรเครือขายใกลเคียงกัน

                  ในดานความรูความสามารถและความตองการ
                          องคกรเครือขายไมมีลําดับขั้น (Hierarchy) การเชื่อมโยงระหวางองคกรเครือขายเปนไปใน

                  ลักษณะแนวราบ แตละองคกรเปนอิสระตอกัน แตระดับความเปนอิสระของแตละองคกรอาจไมเทากัน

                          องคกรเครือขายมีการแบงงานกันทํา (Division of labour) การที่องคกรเขามารวมเปนเครือขาย
                  กัน

                   เพราะสวนหนึ่งคาดหวังการพึ่งพิงแลกเปลี่ยนความสามารถระหวางกัน ดังนั้น หากองคกรใดไมสามารถ

                  แสดงความสามารถใหเปนที่ประจักษ ก็อาจหลุดออกจากเครือขายได ในทางตรงกันขามหากไดแสดง
                  ความสามารถ ก็จะนําไปสูการพึ่งพิงและขึ้นตอกัน การแบงงานกันทํา ทั้งยังเปนการลดโอกาสที่องคกรใด

                  องคกรหนึ่งจะแสดงอํานาจเหนือเครือขายดวย

                          ความเขมแข็งขององคกรที่รวมกันเปนเครือขาย จะนําไปสูความเขมแข็งโดยรวมของเครือขาย
                   ดังนั้น การพัฒนาของแตละองคกรเครือขาย จึงเปนสิ่งสําคัญ

                          องคกรเครือขายกําหนดการบริหารจัดการกันเอง (Self-regulating) ในการทํางานรวมกันใน
                  ลักษณะแนวราบ จําเปนตองมีความสมานฉันท โดยผานกระบวนการทางประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงการ

                  ตอรอง ตกลงระหวางองคกรเครือขายเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายใน เพื่อใหเครือขายสามารถบรรลุ
                  วัตถุประสงคได

                          ความสําเร็จขององคกรเครือขายมิใชจะไดมาเพียงชั่วขามคืน แตตองอาศัยระยะเวลา ในการ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66