Page 15 - การทดสอบสมถรรถภาพ
P. 15

๘




                      แนวทางการจัดการทดสอบสมรรถภาพรางกาย นักเรียนนายสิบตํารวจ



                       การทดสอบสมรรถภาพนักเรียนนายสิบตํารวจ เพื่อใหไดประสิทธิภาพสูงสุด ควรจัดการทดสอบ

              สมรรถภาพรางกาย จํานวน ๑๖ ชั่วโมง ดังนี้

                       ครั้งที่ ๑      กอนการเรียนในเทอม ๑                  จํานวน ๔ ชั่วโมง
                       ครั้งที่ ๒      กอนการสอบปลายภาคเรียนที่ ๑           จํานวน ๔ ชั่วโมง

                       ครั้งที่ ๓      กอนการเรียนในเทอม ๒                  จํานวน ๔ ชั่วโมง

                       ครั้งที่ ๔      กอนการสอบปลายภาคเรียนที่ ๒           จํานวน ๔ ชั่วโมง

                       เพื่อความปลอดภัย เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดในการทดสอบ นักเรียนนายสิบตํารวจ

              ที่เขารับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คณะกรรมการจัดทดสอบควรปฏิบัติ ดังนี้
                       ๑.  จัดพิมพคูมือ คําแนะนํา ใหผูเขารับการทดสอบอาน ใหเขาใจถึงประโยชน วิธีการทดสอบ

              การเตรียมตัวกอนวันทดสอบ และวิธีการพัฒนาสมรรถภาพทางกายใหดีขึ้น ควรติดประกาศ
              กอนทําการทดสอบไมเกิน ๑ สัปดาห และคณะกรรมการจัดการทดสอบตองอานใหเขาใจ เพื่อปฏิบัติ

              ตรงตามกัน

                       ๒.  คณะกรรมการจัดการทดสอบควรเตรียมการในเรื่องสถานที่ อุปกรณ ผูชวย สิ่งอํานวย
              ความสะดวกแบบฟอรมประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย เปนตน รายละเอียดมีดังนี้

                           ๒.๑  การเตรียมสถานที่ ตองพิจารณาใหพอเพียงตอกลุมที่จะทดสอบแตละครั้ง

              และชนิดการทดสอบที่จะนํามาทดสอบ แสงสวางเพียงพอ มีโตะเกาอี้ที่วางของ สถานที่ดังกลาว
              จัดไวเพื่อใชตรวจดรรชนีมวลกาย ความทนทานของกลามเนื้อ ความออนตัวของรางกาย นอกจากนี้

              การตรวจความทนทานระบบหัวใจ และปอด ตองอาศัยลูวิ่งสนามกีฬา ระยะทางรอบละ ๔๐๐  เมตร
              เปนอยางนอย เวลาที่ใชทดสอบควรเปนชวงเชาหรือเย็น สภาพอากาศไมรอนจัด ไมอบอาว
              ไมมีฝนฟาคะนอง

                           ๒.๒  การเตรียมอุปกรณและสิ่งอานวยความสะดวกตางๆ แบงเปน

                                ๒.๒.๑ อุปกรณในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ไดแก นาฬกาจับเวลา

              ชนิดเข็ม หรือชนิดตัวเลข นกหวีดเปาเพื่อใหสัญญาณ และเครื่องวัดนํ้าหนัก สวนสูง ใหพอเพียงตอ
              ปริมาณการทดสอบแตละครั้ง

                             ๒.๒.๒ อุปกรณอํานวยความสะดวก นํ้าดื่ม ผาขนหนู เกาอี้นั่ง อุปกรณปฐมพยาบาล
              ในกรณีฉุกเฉินหรือเตรียมรถพยาบาลใหพรอมระหวางการทดสอบ

                             ๒.๒.๓ แบบฟอรมประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ดินสอ ปากกา

              ยางลบที่เพียงพอ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20