Page 37 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 37

28


                       การพูดในที่ประชุม

                       ผูเรียนทราบมาแลววาการประชุมมีหลายประเภทหลายลักษณะทั้งการประชุมกลุมยอย

               การประชุมกลุมใหญ การประชุมเชิงวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ  แตบุคคลที่มีบทบาทที่จะตอง

               พูดในที่ประชุมที่สําคัญนั้นมีเพียง 2 ฝาย คือ ประธานในที่ประชุมและผูเขารวมประชุม บุคคลทั้ง 2 ฝายนี้
               จะตองรูจักหนาที่และมารยาทของการพูดในที่ประชุม มิฉะนั้น การประชุมก็จะไมเรียบรอยและไมบรรลุผล

               ตามวัตถุประสงค

                       ประธานในที่ประชุม จะตองปฏิบัติตามหนาที่และมารยาทในการพูด ดังนี้
                       1.  แจงใหทราบถึงวัตถุประสงค  ปญหาหรือประเด็นที่นาคิดของการประชุมใหสมาชิกไดทราบ

               และพิจารณากอนดําเนินการประชุม

                       2. พูดตามหัวขอหรือวาระการประชุมอยางสั้น ๆ ไดเนื้อหาสาระและอยาถือโอกาสของการเปน
               ประธานผูกขาดการพูดแตเพียงผูเดียว

                       3.  ใหโอกาสแกผูเขารวมประชุมแสดงความคิดเห็นไดอยางเสรี  กวางขวางเปนอิสระและทั่วถึง
                ประธานคอยสรุปความคิดเห็น ขอเสนอตาง ๆ ใหกระชับ ตรงประเด็นและเปนคนสุดทาย

                       4.  ใชคําพูดสรางบรรยากาศที่ดี   มีความเปนกันเอง เพื่อใหผูเขารวมประชุมกลาแสดงความคิดเห็น

               และเพื่อใหการประชุมเปนไปดวยความราบรื่น
                       5.  ควบคุมการประชุมใหเปนไปตามระเบียบวาระและรักษาเวลาในการประชุมใหเปนไปตาม

               กําหนด หากผูเขารวมประชุมพูดแสดงความคิดเห็นมากจนเกินเวลาหรือพูดไมตรงประเด็น ประธานตอง
               เตือนใหพูดรวบรัดและพูดใหตรงประเด็น

                       ผูเขารวมประชุม  จะตองปฏิบัติตามหนาที่และมารยาทในการพูด ดังนี้

                       1.  พูดแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายอยางมีเหตุผล  ยอมรับฟงความคิดเห็นของบุคคลอื่น
                พูดดวยใจเปนกลางไมใชอารมณหรือนําความขัดแยงสวนตัวกับผูเขารวมประชุมมาเกี่ยวของกับการพูดและ

               แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม

                       2.  เขาประชุมใหตรงเวลาและรักษาเวลาในการพูด ตามที่ประธานกําหนดให
                       3.  พูดใหไดใจความ กระชับ และกํากับความคิดใหเปนไปตามขั้นตอนมีการโยงความคิด เห็นดวย

               หรือขัดแยงใหสัมพันธตอเนื่องและสอดคลอง ไมควรพูดวกวนจนจับประเด็นไมได
                       4.  ไมควรผูกขาดการพูดแตผูเดียว  หรือแสดงความคิดเห็นของตนเองเพื่อแสดงความรอบรู

                เมื่อเห็นวาประเด็นใดที่มีแนวทางที่ดีและถูกตองแลวก็ควรงดเวนการแสดงความคิดเห็น มิฉะนั้นจะทําให

               ผูเขารวมประชุมเกิดความเบื่อหนาย
                       5.  ควรรักษามารยาทในการพูดในที่ประชุม  อยางเชน ใชภาษาสุภาพ ไมพูดกาวราว  มีการขอ

               อนุญาตตอประธานเมื่อตองการพูด  ไมแสดงกิริยาที่ไมสุภาพในที่ประชุม เปนตน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42