Page 103 - e-book Health Knowledge Articles
P. 103
ระหว่างทางการปั่นจักรยานต่างกับกีฬาอื่นๆ ตรงที่มีการเคลื่อนไหวผ่านอากาศ
ค่อนข้างไว เวลาเหงื่อออกเราอาจจะไม่รู้สึกตัวว่าร่างกายเสียน้ำไปเยอะแล้ว เพราะ
จะรู้สึกเย็นไปหมด จนทำให้บางทีเราดื่มชดเชยเหงื่อไม่พอ อาการกระหายน้ำไม่ได้
แปลว่า เราต้องดื่มจนหมดขวดเพื่อดับกระหาย โดยปริมาณที่พอเหมาะของแต่ละคน
คือจิบน้ำเวลาที่เรารู้สึกปากแห้งเริ่มหิวน้ำ ถ้าไม่ได้รู้สึกกระหายน้ำมาก จิบน้ำทุกๆ
15-20 นาที ก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ได้ดี
3.วอร์มอัพสักนิดช่วยลดบาดเจ็บ ควรอบอุ่นร่างกายก่อนปั่น 5 - 10 นาที เป็นการ
เตรียมการทำงานของร่างกายให้พร้อม ทั้งปอด หัวใจ ขยับแขนไปมา เพื่อเป็นการยืด
กล้ามเนื้อ หรือ stretching สามารถช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ เพราะว่า
กล้ามเนื้อส่วนขาจะต้องเคลื่อนที่ในแบบซ้ำๆ และการไม่ได้อบอุ่นร่างกายอย่าง
ถูกต้อง จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ควรหมั่นสังเกตอาการ
ของตนเอง หากมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน ชักเกร็ง ตัว
เย็น ซีด หายใจเหนื่อยหอบ หน้ามืด จะเป็นลม ควรขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
4.เช็คอุปกรณ์ พร้อมปั่นได้ ควรเตรียมอุปกรณ์และเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับการ
ปั่นจักรยาน ตรวจเช็คจักรยานให้พร้อมกับการปั่น เนื่องจากช่วงนี้อากาศค่อนข้าง
ร้อน ชุดควรระบายความร้อนได้ดี ไม่แนะนำให้พันผ้าพันคอ หรือสวมที่คาดผม หรือ
ติดเครื่องประดับที่ไม่สะดวกต่อการออกกำลังกาย ควรสวมหมวกกันกระแทกเพื่อ
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ และที่สำคัญควรเตรียมพกยาติดตัวไปด้วย
นอกจาก 4 เทคนิคที่กล่าวมากแล้วสามารถทำได้ง่ายเตรียมร่างกายให้พร้อม ที่สำคัญ
คือ สิ่งที่จะต้องนำติดตัวไปด้วย ประเภทแรกที่ควรติดต่อไปด้วยขณะปั่นจักรยาน คือ ยาดม
พกง่าย เบา สามารถใช้เองและใช้ช่วยคนอื่นที่มีอาการเป็นลมได้ ยาทาแก้ปวด หรือสเปรย์พ่นแก้
ปวด ใช้ได้ทั้งเยียวยาอาการปวดและบรรเทาขณะเป็นตะคริวเฉียบพลัน ยาประจำตัว เช่น คน
เป็นโรคหอบ อย่าลืมยาพ่นชนิดพกพา คนเป็นโรคหัวใจอย่าลืมยาอมใต้ลิ้น ซึ่งเป็นยาประจำที่ต้อง
รับประทานตามเวลา เพียงเท่านี้ ก็จะปั่นจักรยานได้อย่างมีความสุข ตรงตามเป้าหมายได้อย่าง
ปลอดภัย
แหล่งที่มา : สาระสุขภาพ ทันกระแส สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ
97