Page 27 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 27

เรื่องที่ 2    องค์ประกอบ สาระส าคัญและรูปแบบโดยรวมของการวิจัยอย่างง่าย


                          การวิจัยอย่างง่าย มีองค์ประกอบ สาระส าคัญและรูปแบบ คล้าย ๆ กับการวิจัยในชั้นเรียนแต่อาจจะ

               แตกต่างกันตรงกลุ่มประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย ด้านอายุ อาชีพ ความรู้พื้นฐานรวมไปถึงเงื่อนไขตัวแปรอื่น ๆ
               ที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนชั้นเรียนในระบบโรงเรียน หากพิจารณาในด้านกระบวนการท าวิจัยแล้ว ก็แทบจะ

               ไม่แตกต่างกัน เพราะเริ่มต้นจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อก าหนดเป็นปัญหาการวิจัยและหาวิธี

               แก้ปัญหาให้กับผู้เรียน ซึ่งสามารถสรุปกระบวนการท าวิจัยอย่างง่าย ได้ดังนี้









































                           จากวงจรข้างต้น สามารถอธิบายกระบวนการหลัก ๆ ของการวิจัยอย่างง่ายให้เข้าใจยิ่งขึ้น

               ตามล าดับ ดังนี้

                          ขั้นตอนที่ 1  การสังเกตความผิดปกติของผู้เรียน และตั้งเป็นข้อสงสัยคาดว่าจะเป็นปัญหา ซึ่งต้อง

               อาศัยความใส่ใจและประสบการณ์ของครูผู้สอนโดยตรง หรือครูผู้สอนอาจจะหาแนวทางมาจากการศึกษา
               การอ่านงานวิจัย หรือวารสารต่าง ๆ รวมถึงการพูดคุยกับเพื่อนครูผู้สอนด้วยกันแล้วไปสังเกตผู้เรียน

                          ขั้นตอนที่ 2  การก าหนดปัญหา วิเคราะห์ สังเคราะห์ว่าสิ่งผิดปกติที่พบเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ

               ผู้เรียน ซึ่งในขั้นตอนนี้ ครูผู้สอนจะต้องใช้ความสามารถในการจ าแนก แยกแยะความแตกต่างระหว่างปัญหา
               และสาเหตุของปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีวิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นทั่วไป เพื่อหาข้อเท็จจริงหรือความจริงเกี่ยวกับ

               ปัญหา และจากนั้น ให้เขียนอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา เพื่อหาสาเหตุแท้จริงของปัญหาที่เกิดกับผู้เรียน



                                                คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.

                                                             13
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32